Page 297 - kpiebook62009
P. 297

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



               มีภาระค่าใช้จ่ายในการเหมารถเดินทาง ครอบครัวขาดรายได้ทุกครั้งเมื่อต้องหยุดงานเพื่อพาไปโรงพยาบาล

               ทำให้คนกลุ่มนี้กลายเป็นภาระครอบครัว บางรายถูกทอดทิ้ง และโรงพยาบาลท่าคันโทมีจำนวนอุปกรณ์
               ฟื้นฟูไม่เพียงพอ ประชาชนบางกลุ่มฐานะไม่ดี ยอมเสียโอกาสในการฟื้นฟู

                            นอกจากนี้ ยังพบว่า แม้ว่าจะเข้าถึงบริการ บางรายมีอุปกรณ์ แต่ไม่เหมาะสม ไม่เพียงพอ
               และที่สำคัญคือครอบครัวและชุมชนขาดการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูผู้ป่วย

                            จากการสนทนากลุ่ม พบว่า เทศบาลตำบลท่าคันโท ได้ดำเนินโครงการโดยอาศัยเครือข่าย
               ได้แก่ ทต.ท่าคันโท (บริหารจัดการเครือข่าย)/ รพ.ท่าคันโท)/สสอ/หมอครอบครัวภาคประชาชน/ผู้นำ

               ชุมชน/ชมรมผู้สูงอายุ/ชมรมคนพิการ/ศูนย์โฮมสุข/บริษัทไทวา ทั้งนี้ การริเริ่มกระบวนการที่นำโดยชุมชน
               เจ้าของพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วม และร่วมกันคิดริเริ่มด้านเครืองมืออุปกรณ์ร่วมกับทีมสหวิชาชีพและ

               อาสาสมัครในชุมชน ร่วมกันคิดค้นนวัตกรรมโดยคนพิการท (จ้างงานคนพิการเป็นช่วงประดิษฐ์ ช่างซ่อม
               กายอุกรณ์) ที่เรียกว่า กายอุปกรณ์ประยุกต์จากวัสดุและวิธีการของชุมชนจำนวน 9 ชนิด 16 รายการ โดย

               การรับรองจากผู้เชี่ยวชาญจัดตั้งธนาคารกายอุปกรณ์ประยุกต์ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ ทั้งสิ้น 4 แห่ง โดย
               มีธนาคารกลาง 1 แห่ง และธนารสาขาย่อย 3 แห่ง มีการอบรมให้ความรู้แก่หมอครอบครัวภาคประชาชน

               เกี่ยวกับการบริการจัดการกายอุปกรณ์ มีนักกายภาพบำบัดออกให้ความรู้แก่ผู้รับบริการ จัดหากายอุปกรณ์
               ที่เหมาะสม ติดตามเยี่ยมบ้านและประเมินผล และจัดจ้างคนพิการที่มีศักยภาพ เป็นช่างซ่อมกายอุปกรณ์

               ภายให้แนวคิด “การมีส่วนร่วมของประชาชน ร่วมคิด ร่วมสร้าง ร่วมเป็นเจ้าของ โดยการบูรณาการ
               เครือข่ายภายใต้ทรัพยากรเดียวกัน” ปัจจุบันเป็นแหล่งศึกษาดูงาน

                         จุดเด่นของการปฏิบัติงานสร้างเสริมเครือข่าย
                         การขับเคลื่อนเครือข่ายเน้นการใช้กลไกของทีมด้านสุขภาพและความแม่นยำเรื่องข้อมูลผู้ป่วยมี

               การประชาสัมพันธ์ให้ครอบครัวผู้เข้าถึง App และเรียนรู้วิธีการใช้ซึ่งจะสะดวกมากกว่าการกด 1669
               เนื่องจากเรียกผ่าน App จะสามารถระบุพิกัดของผู้ป่วยรวมทั้งประวัติการเจ็บป่วยและการรักษาที่ผู้ให้

               บริการสามารถรับทราบได้ทันทีโดยไม่ต้องซักประวัติเพิ่มหรือเสียเวลาค้นประวัติเดิม นอกจากนี้ยังถ่ายทอด
               ความรู้แก่ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ (หมอครอบครัวภาคประชาชน) ที่รับผิดชอบผู้ป่วยแต่ละราย เกี่ยวกับ

               การดูแล การแจ้งเหตุ  การค้นหากลุ่มเสี่ยงพัฒนาคู่มือการใช้ App แก่เครือข่ายและกลุ่มเป้าหมาย พัฒนา
               “รถสามล้อ EMS” ที่รถวีลแชร์สามารถขึ้นได้และเป็นรถที่สามารถเข้าในพื้นที่คับแคบ ส่งผู้ป่วยได้ถึงเตียง

               ในบ้าน จัดให้มีโปสเตอร์ให้ดาวน์โหลด App และหมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ติดทุกบ้าน
                         จากเทคโนโลยีนี้ ทำให้ระยะเวลาการตอบสนองการออกเหตุ (response time) เฉลี่ย 4.12

               นาที ซึ่งเร็วกว่าเกณฑ์มาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉิน
                         นอกจากกลไกของทีมสุขภาพแล้ว ยังใช้กลไกของชุมชนเป็นฐานในการบริหารจัดการ

               โดยเฉพาะ ธนาคารกายอุปกรณ์ที่กระจายอยู่ตามชุมชน ให้ชุมชนสามารถดูแลธนาคารกายอุปกรณ์ ทั้งนี้อยู่
               บนพื้นฐานของมาตรฐานด้านการฟื้นฟูเป็นรายเคสภายใต้การกำกับอย่างใกล้ชิดของบุคลากรสาธารณสุข

               ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างเจ้าหน้าที่และจิตอาสาในชุมชน






                                                         256
   292   293   294   295   296   297   298   299   300   301   302