Page 290 - kpiebook62009
P. 290

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                  การสร้างกฎ กติกา การอยู่ร่วมกันในสังคม ผ่าน “สภาซูลอ” และร่วมขับเคลื่อนการแก้ปัญหาในพื้นที่อย่าง

                  ทันท่วงที ผ่าน “สภากาแฟ” ทุกเดือน นำสู่การเป็น “ตำบลตักวา” ให้เกรงกลัวต่อบาปตามหลักศาสนาที่
                  นับถือ

                            3. โครงการศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลนาเกตุ

                               กระบวนการสร้างกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมายในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่าง
                  ภาครัฐกับชุมชน ในการอำนวยความยุติธรรม  สร้างความเป็นธรรมและความสงบสุข ในสังคมร่วมกัน โดย

                  ภาครัฐจะส่งเสริมการรวมกันของประชาชนในลักษณะของเครือข่าย เพื่อทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับภาครัฐ

                  ในการดำเนินภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชุมชนเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ประนอมข้อพิพาท
                  เกี่ยวกับความแพ่ง หรือความอาญาที่เป็นความผิดอันยอมความได้ หรือความผิดอื่นตามกำหนด หรือ

                  จัดการความขัดแย้งในชุมชนตามหลักความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ การเสริมความสมานฉันท์ในชุมชน

                  ภายในชุมชนในรูปแบบการบริหารจัดการแบบครัวเรือน  ในการลดความขัดแย้งในสังคม และร่วมวางแผน
                  กระบวนการพัฒนาคน (การรู้เท่าทันข้อกฎหมาย  การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา การนำหลัก

                  ศาสนานำชีวิต) พัฒนากาย (การส่งเสริมทางด้านสุขภาพ และ เศรษฐกิจ) พัฒนาจิต (สร้างความเข้าใจ

                  เกี่ยวกับความไม่เข้าใจกันของประชาชนและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ)
                            4. โครงการชมรมเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ

                               จากสถิติผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ตำบลนาเกตุทั้งสิ้นรวม 137 คน แยกเป็น ผู้ได้รับ

                  ผลกระทบโดยตรง จำนวน 61 คน หญิงผู้สูญเสียจำนวน 17 คน โดยแยกเป็นหญิงแกนนำ จำนวน 9 คน
                  และเด็กในชุมชนที่ได้รับผลกระทบ  จำนวน 50 คน ซึ่งส่งผลให้กลุ่มผู้สูญเสียบุคคลในครอบครัวต้อง

                  เศร้าโศกเสียใจ ต้องรับภาระการทำงานหลัก  และภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลสมาชิกในครอบครัวที่เหลืออยู่

                  แทนผู้นำในครอบครัวที่สูญเสียไป ขาดรายได้หลักของครอบครัว อีกทั้งยังต้องอยู่ด้วยความหวาดระแวง
                  มีความวิตกกังวลต่างๆ นานา ในการดำรงชีวิตประจำวันและการเดินทางไปประกอบอาชีพ ส่งผลให้เกิด

                  ปัญหาทางสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จนไม่มีเวลาดูแลหรืออบรมเลี้ยงดูบุตร
                  หลานได้อย่างเหมาะสมทำให้มีปัญหาอื่นๆ ตามมา เพื่อเป็นศูนย์กลางในการประสานงานภาครัฐในการหา

                  แนวทางให้ความช่วยเหลือครอบครัวซึ่งได้รับผลกระทบ ตลอดจนฟื้นฟูสภาพทางจิตใจ สร้างแรงเสริม

                  ทางบวก สร้างคุณค่าและคืนบุคคลสู่สังคมอย่างมีคุณภาพ
                            5. โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสตำบลนาเกตุ

                               โครงการที่ดูแลผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสทั้งตำบลนาเกตุ ซึ่งประกอบด้วยผู้สูงอายุที่นับถือ

                  ศาสนาพุทธ และศาสนาอิสลาม มาทำกิจกรรมร่วมกันโดยไม่แบ่งแยก สร้างความปรองดองความสมานฉันท์ให้
                  เกิดขึ้นในพื้นที่ ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ลดปัญหาความหวาดระแวงและความขัดแย้งในพื้นที่ลงได้  และ

                  เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาสที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ ตลอดจนสร้างอาสาสมัคร

                  จิตอาสาเพื่อการดูแลฟื้นฟูบุคคลดังกล่าวโดยทีมสหวิชาชีพให้ความรู้ด้านกายภาพบำบัด ขับเคลื่อน
                  การสร้างสภาพแวดล้อมผู้สูงอายุที่เหมาะสม  เสริมสร้างอาชีพและการถ่ายทอดภูมิปัญญาเพื่อการสร้าง



                                                            249
   285   286   287   288   289   290   291   292   293   294   295