Page 278 - kpiebook62009
P. 278

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                  ความยากลำบากและขาดความต่อเนื่อง องค์การบริการส่วนตำบลหนองมะเขือ ได้ร่วมกับคณะกรรมการ

                  หมู่บ้านนำประเด็นปัญหานี้มาดำเนินโครงการ “อยู่ดีเพราะป่ายัง ป่ายังเพราะคนดี” มีเป้าหมายเพื่อสร้าง
                  การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และนำทรัพยากรเข้ามาหนุนเสริมภาคประชาชน ให้สามารถ

                  ดำเนินงานตามแผนและร่วมวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่ต้นเหตุจนถึงปลายเหตุ

                              กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม อบต.หนองมะเขือ ได้วางแผนตั้งแต่การ “ร่วมคิด” จัดให้มี
                  เวทีสืบสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับป่า โดยการจัดตั้งคณะทำงานสืบสภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหนอง

                  มะเขือ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประชาชนและหน่วยงานต่างๆ ออกแบบสอบถามเพื่อประเมินทัศนคติ

                  การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การประชาคม การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม
                  เพื่อให้ชุมชนได้หยั่งรู้ถึงศักยภาพและข้อจำกัดและให้ประชาชนเป็นเจ้าของแผนร่วมกัน

                              การมีส่วนร่วมด้าน “การวางแผน” โดยการนำข้อมูลที่ได้จากการสืบสภาพปัญหาป่าเข้าสู่

                  กระบวนการวิเคราะห์ SWOT analysis และกำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และกิจกรรมขึ้นเป็นร่างแผนงาน
                  เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนด่าวนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบกรรมการ และประชุมเพื่อปรับปรุงรูปแบบ

                  กิจกรรมให้ตอบสนองความต้องการ ต่อมาเป็นการมีส่วนร่วมในด้าน “การ่วมดำเนินการ” ได้แก่ กิจกรรม

                  พัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงาน คือการสร้างทัศนคติเชิงบวกต่อการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งวิธีการที่
                  เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รวมถึงการประชุมพบปะกันบ่อยครั้ง การพัฒนาความรู้ด้วยการฝึกอบรม

                  ศึกษาดูงาน และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน และการดำเนินกิจกรรมตามแผน เช่น

                  การจัดตั้งชมรมเยาวชนอนุรักษ์ป่า การจัดให้มีหลักสูตร “อยู่ดีเพราะป่ายัง ป่ายังเพราะคนดี” ไว้ใน
                  การเรียนการสอนของโรงเรียน การจัดตั้งศาลปู่ตาแสง การบวชป่า การดับไฟป่า การทวงคืนผืนป่าจาก

                  ผู้บุกรุกการปลูกป่า การทำฐานข้อมูลพันธุกรรมพืชและมูลค่าทางเศรษฐกิจของผืนป่า เป็นต้น

                            2. ขั้นตอนการ “ร่วมประเมินผล” มีการประเมิน 3 ระยะ ได้แก่ การประเมินทัศนคติและ
                  ความพร้อมการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการของภาคประชาชนก่อนดำเนินการ การประเมินความพึง

                  พอใจต่อการดำเนินงานในทุกแผนกิจกรรม และการประเมินความพึงพอใจสุดท้ายเมื่อสิ่นสุดการดำเนินงาน
                  โดยใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม  เป็นเครื่องมือ สุดท้ายคือ ขั้นการร่วมรับผลประโยชน์ เนื่องจากโคก

                  ห้วยวังแสงเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปใช้ประโยชน์ตามวิถีดำรง

                  ชีพของชุมชน ซึ่งได้มีการกระตุ้นเตือนให้ปฏิบัติตามกฎให้ใช้ประโยชน์อย่างเสมอภาคและเป็นธรรมเพื่อ
                  ป้องกันความขัดแย้ง

                              นอกจากนี้ อบต.หนองมะเขือสามารถสร้างการมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการมีส่วน

                  ร่วม โดยมุ่งเน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้น ร่วมคิด เพื่อสร้างความเป็นเจ้าของตั้งแต่ต้น เพื่อให้
                  สามารถเข้าถึงสภาพปัญหาที่แท้จริง และดึงความเชื่อมั่นของประชาชน การจัดตั้งคณะกรรมการระดับ

                  ตำบลและคณะกรรมการอนุกรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตำบลหนองมะเขือซึ่งประกอบด้วย

                  ผู้นำชุมชน หน่วยงานทั้งในและนอกพื้นที่ที่สามารถสนับสนุนทรัพยากร และการขยายเครือข่ายการเรียนรู้
                  ไปยังตำบลใกล้เคียง และมีเครื่องมือในการประเมินทัศนคติต่อการเริ่มดำเนินโครงการ รวมทั้งการมี



                                                            237
   273   274   275   276   277   278   279   280   281   282   283