Page 281 - kpiebook62009
P. 281
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
ดอกไม้ประดับ ชุดเชิงบาตร ดอกไม้จันทน์ เหรียญโปรยทาน ญาติหรือชุมชมดูแลค่าบำรุงเมรุ ซองปัจจัย
ทำบุญ
ระดับ C - ผู้ตายมีเงินกองทุนเงินออมที่ทำร่วมกับเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์แต่ยื่นความประสงค์
ขอใช้โครงการ เช่น กองทุนเงินออมวันละบาท ฌาปนกิจศพผู้สูงอายุ กองทุนจุติสุขาวดีสนับสนุน
ดอกไม้จันทน์ เหรียญโปรยทานตามสมควร
คณะกรรมการกองทุนจุติสุขาวดีทุกคนมีอำนาจในการตัดสินใจให้ความช่วยเหลือตามเกณฑ์
ที่ตั้งไว้ และสามารถทำงานแทนกันได้ การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลจากเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เรื่องการเป็น
สมาชิกกองทุนฌาปนกิจและกองทุนเงินออมวันละบาท
นอกจากนี้ ยังมีการระดมทุนผ่าน facebook และการประชาสัมพันธ์แบบปากต่อปาก
หอกระจายข่าวและรถแห่ประชาสัมพันธ์ ระดมทุนผ่านการเพจจุติสุขาวดี และ facebook ส่วนตัวของ
จิตอาสา ระดมทุนจากการเล่นดนตรีเปิดหมวกเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการและชี้แจงวัตถุประสงค์
จากการสัมภาษณ์ พบว่า นอกจากการดำเนินงานของกลุ่มจิตอาสาแล้ว ยังขยายผลไปยัง
ผู้นำชุมชนทุกชุมชน ให้คอยสอดส่องดูแลคนในชุมชนของตน และผู้นำชุมชน มาร่วมเป็นจิตอาสา
นำสมาชิกในชุมชนร่วมแรงร่วมใจจัดทำดอกไม้ประดับศพ เหรียญโปรยทานและดอกไม้จันทน์ จาก
ลอตเตอรี่เก่า
ยิ่งไปกว่านั้น พบว่า มีกลุ่มเด็กเยาวชนประดิษฐ์สิ่งของในโครงการ พร้อมรับฟังธรรมะหัวข้อ
“กตัญญูยิ่งให้ยิ่งได้” จากพระที่เข้าร่วมโครงการเพื่อปลูกฝังแนวคิดการดูแลผู้สูงอายุและผู้ที่ควรช่วยเหลือ
เกื้อกูล มีโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 5 แห่ง และมีกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคม เช่น กลุ่มผู้บำบัดยาเสพติด
นักโทษ เพื่อให้เกิดอาชีพและความตระหนักรู้คุณค่าของตัวเอง เกิดแรงบันดาลใจปรับตัวสู่สังคมที่มี
จิตสาธารณะและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข มีค่ายบำบัดเข้าร่วมกิจกรรม 4 ค่าย และมาร่วมเป็นจิต
อาสาในโครงการ เพื่อดูแลผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสที่ใกล้เสียชีวิต
2. โครงการคนกาฬสินธุ์ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
โครงการนี้มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มบุกรุกสร้างชุมชนแออัดริมคลองลำปาว อีกทั้งยัง
เป็นกลุ่มที่มีปัญหาด้านสถานะบุคคล เร่ร่อน อาชีพไม่มั่นคง ยาเสพติด และปัญหาวัยรุ่น ลักเล็กขโมยน้อย
ความขัดแย้งของชุมชน ซึ่งการมีชุมชนแออัดในที่สาธารณะเช่นนี้ เป็นสิ่งสะท้อนความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นใน
สังคมเมืองกาฬสินธุ์ และสะท้อนถึงการละเลยต่อการดูแลกัน นำมาซึ่งการเป็นแหล่งสะสมของปัญหา
หลายอย่าง เช่น ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด การศึกษาและการเติบโตของเด็กในชุมชน วัยรุ่นตั้งครรภ์
เป็นต้น
จากการสนทนากลุ่ม พบว่า แนวทางการขับเคลื่อนโครงการเริ่มจากการที่เทศบาลเมือง
กาฬสินธุ์เข้าไปพูดคุย ทำประชาคมร่วมกับประชาชนผู้บุกรุก สร้างความเข้าและทัศนคติที่ดีต่อกัน เพื่อลด
ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน หลังจากนั้นเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ จัดหาที่ดินสำหรับย้ายจากพื้นที่
สาธารณะ โดยการบริจาคจากภาคเอกชน เพื่อจัดซื้อที่ดินให้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่ง และจัดให้เป็น
240