Page 273 - kpiebook62009
P. 273

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                         - อบต.สนับสนุนการดำเนินงานของโครงการฯ โดยการสนับสนุนสถานที่เป็นที่ตั้งการดำเนินงานของ

               ธนาคารขยะฯ ตลอดจนการทำกิจกรรมต่อยอดจากการนำขยะ ที่โรงงานไม่รับซื้อ เช่น ถุงผงซักฟอก น้ำยา
               ปรับผ้านุ่ม โดยกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มสตรี นำมาตัดเย็บกระเป๋า หมวก ผ้ากันเปื้อน จำหน่ายเป็นรายได้

               เสริม  ซึ่งได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรเย็บผ้าจากธนาคารทหารไทย

                         - อบต. ให้ภาคประชาชนเป็นกลไกการดำเนินงานหลัก ซึ่งประกอบไปด้วย กลุ่ม อสม. กลุ่ม
               ผู้สูงอายุ กลุ่ม อถล. และแกนนำชุมชน ในการดำเนินการประชาสัมพันธ์ บริหารจัดการการรับซื้อ-ขายขยะ

               การกำหนดกติการ่วมกัน การดูแลสมาชิก (ให้แกนนำ อถล. 1 คน ดูแลสมาชิก 10 คน) รวมทั้ง

               การคิดสร้างสรรค์กิจกรรมต่อยอดต่างๆ เพื่อสร้างความยั่งยืนของโครงการ และให้ประชาชนมีอาชีพเสริม
               มีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนแนวตั้ง (คอนโด,  เคหะชุมชน) ใน

               การจัดการปัญหาขยะ

                         - อบต. ขยายผลการมีส่วนร่วมในระดับโรงเรียน โดยครูสามารถบูรณาการปัญหาขยะใน
               การจัดการเรียนการสอน และสร้างกลุ่มแกนนำนักเรียน ทำกิจกรรมรณรงค์ สร้างความตระหนักรู้ปัญหา

               ขยะ การคัดแยกขยะในโรงเรียน และให้นักเรียนรู้จักการแยกขยะ และคุณค่าของขยะ เพื่อมาเป็น

               ทุนการศึกษา
                         - ผู้นำ (นายกฯ) มีวิสัยทัศน์และประสานให้ธนาคารออมสิน เข้ามาเป็นกลไกสร้างความเชื่อมั่น

               ของธนาคารฯ เพื่อดึงการมีส่วนร่วมการจัดการปัญหาขยะของคนในชุมชน เปลี่ยนทัศนคติของคนในชุมชน

               ให้รู้ถึงคุณค่าของขยะ และสร้างความเชื่อมั่นด้านการบริหารจัดการ และความโปร่งใส
                         - เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนในการพัฒนาด้านการบริหารจัดการ โดยใช้

               เทคโนโลยีสมัยใหม่ application ฟรี

                         จุดเด่นด้านความโปร่งใส
                         - ใช้การบริหารจัดการโดยภาคประชาชน (แกนนำกลุ่ม อถล., แกนนำชุมชน, อสม.) ซึ่งเป็น

               กลุ่มจิตอาสา ไม่มีคค่าตอบแทนการดำเนินงาน ซึ่งกลุ่มแกนนำภาคประชาชนจะออกหน่วยจุดบริการรับซื้อ
               ขยะด้วยตนเอง และกลุ่มแกนนำจะทราบราคาขยะขึ้น-ลงเป็นราคาเท่าไร ตามราคาตลาดรับซื้อของ

               ผู้รับเหมา ซึ่งราคาสูงกว่ารถรับซื้อทั่วไป

                         - ณ จุดรับซื้อ  มีการแจ้งราคารับซื้อให้สมาชิกทราบล่วงหน้า และใช้ตาชั่งระบบดิจิตอล
               คิดราคาและจำนวนปริมาณขยะตามจริง และชี้แจงให้สมาชิกรับทราบทันที

                         - ผู้จัดการธนาคาร และคณะกรรมการฯ มีการตรวจสอบตามใบหน้างานอีกครั้งหนึ่ง เช่น

               คำนวณเงินถูกหรือไม่ และดำเนินการสรุปยอดเงินเป็นรายจุด และจำนวนสมาชิกที่มาร่วมจำหน่ายกี่คน
               ลงในฐานข้อมูล excel

                         - สมาชิกสามารถสอบถามเช็คยอดเงิน ได้ที่ธนาคารซื้อขายขยะ หรือ ผ่าน application Line

               ชื่อ “น้องแบงค์” เพียงแค่กรอกเลขสมาชิกก็สามารถเช็คยอดเงินได้ทันที





                                                         232
   268   269   270   271   272   273   274   275   276   277   278