Page 268 - kpiebook62009
P. 268

รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562



                            จุดเด่นด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

                            1.จัดทำโครงการมหาวิชชาลัยนานาชาติวัยซน เกิดจากในหลายปีที่ผ่านมา เด็กเล็กในชุมชน
                  เข้าไปเรียนต่อในตัวจังหวัดเป็นจำนวนมาก เนื่องจากการเรียนในชุมชนอาจจะทำให้ไม่ได้รับการศึกษาที่มี

                  คุณภาพเท่าที่ควร จึงทำให้ อบต.นาพันสามได้ร่วมกับชุมชน เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและ

                  เครือข่ายรัฐและเอกชน ภาคประชาสังคม โดยให้ทุกภาคส่วนในชุมชนเสนอแนวคิดเพื่อจะนำไปพัฒนา
                  ชุมชน ในด้านการศึกษาของเด็กเล็ก เริ่มจากการให้เด็กเล็กมีการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์

                  สังคม และสติปัญญา โดยใช้อาคาร วัสดุ อุปกรณ์และอัตลักษณ์ชุมชนนำเข้ามาประยุกต์ให้เหมาะสมกับ

                  ปัจจุบัน ซึ่งเกิดกระบวนการในการมีส่วนร่วมของคุณครู ประชาชน เด็กเล็ก เพื่อเสริมสร้างการมีระเบียบ
                  วินัย รู้ทักษะชีวิต รู้จักการรอคอย มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตั้งแต่ก่อนวัยเรียน และยังทำให้เกิดระบบ

                  การเรียนการสอนที่เอื้อของคนในพื้นที่ มีครูนานาชาติ โดยเด็กและเยาวชนที่เราควรกลับมาเรียนรู้บ้านเรา

                  ซึ่งการเรียนการสอนในโครงการนี้จะมีการสอดแทรกภูมิปัญญาวิถีชุมชน หลักเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึง
                  การทำขนมหวานซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์โอทอป (OTOP) ทำให้เกิดประโยชน์กับชุมชนในด้านเศรษฐกิจ สังคม

                  และยังสามารถแก้ไขปัญหาให้เด็กได้เรียนอยู่ในชุมชนอย่างอบอุ่น และมีคุณภาพ โดยให้ทุกภาคส่วนใน

                  ชุมชนช่วยกันดูแล
                            2. จัดทำโครงการคืนตาลสู่ตำบลนาพันสาม สืบเนื่องมาจาก ตาลโตนด เป็นไม้คู่บ้านคู่เมือง

                  จังหวัดเพชรบุรีมาช้านาน จนปัจจุบันวิถีชีวิตของคนเพชรบุรียังเกี่ยวพันกับน้ำตาลโตนดเกือบทุกคนใน

                  ชุมชน โดยที่ชาวบ้านนั้นจะนำผลผลิตจากต้นตาลมาประกอบเป็นอาหาร คาวและหวาน แต่ในปัจจุบันมี
                  ชลประทานเข้าถึงในพื้นที่ทำให้ชาวบ้านหันไปทำนาซึ่งใช้น้ำเป็นจำนวนมาก ทำให้ต้นตาลถูกน้ำท่วมจน

                  ยืนต้นตาย ต่อมามีการสำรวจจำนวนต้นตาลพบว่ามีจำนวนลดน้อยลงเป็นอย่างมาก จึงทำให้อบต.เกิด

                  โครงการนี้ขึ้นและดึงภาคประชาชน มีทั้งแกนนำหมู่บ้าน ชาวบ้านในชุมชน วัด และกลุ่มอาสาสมัครต่างๆ
                  เข้ามามีส่วนร่วมในการทำโครงการ โดยมีการจัดการประชุม วางแผนและประชาสัมพันธ์เพื่อขอรับบริจาค

                  เมล็ดพันธุ์ต้นตาล เพื่อนำไปปลูกบริเวณสองฝั่งคลองและพื้นที่สาธารณะในชุมชน และมอบหมายให้ผู้นำ
                  ชุมชนและประชาชนในพื้นที่และเจ้าของนา ซ่อมตาลหรือดูแลต้นตาลร่วมกัน

                            3. จัดทำโครงการนวัตกรรมไพรปราบยุงลาย เกิดจากการสำรวจและพบว่ามีการแพร่ระบาด

                  ของไข้เลือดออกขึ้นในตำบลนาพันสาม มีผู้ป่วยหนัก จำนวน 23 ราย เป็นปัญหาที่ต้องการการแก้ไข
                  อย่างเร่งด่วน ซึ่งประชาชนได้ตระหนักถึงเรื่องของการป้องกันและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็น

                  พาหนะของไข้เลือดออก และยังพบปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่มี

                  ประสิทธิภาพ ไม่มีการควบคุมโรค การสำรวจลูกน้ำยุงลายไม่เป็นไปตามความเป็นจริงเนื่องจากกลุม
                  ผู้สำรวจขาดทักษะในการสำรวจลุกน้ำยุงลาย ไม่มีการพ่นเคมีเพื่อการควบคุมโรค ดังนั้นอบต.นาพันสามจึง

                  ได้ร่วมมือกับ กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลนาพันสาม อสม. และประชาชน ในการคิดค้นนวัตกรรมการ

                  ป้องกันยุงลายซึ่งเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก จึงเกิดการจัดทำโครงการขึ้น โดยที่อบต.เป็นส่วนช่วยเหลือ
                  และสนับสนุนซึ่งจะขับเคลื่อนการดำเนินงานโดยกลุ่มภาคต่างๆให้คำแนะนำ เช่นรพ.สต. มีทั้งการอบรมให้



                                                            227
   263   264   265   266   267   268   269   270   271   272   273