Page 266 - kpiebook62009
P. 266
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
ร่วมมือกันดูแลรักษาะเกาะพีพี โดยมีการประชุมวางแผนและมอบหมายหน้าที่กันดำเนินโครงการ ทั้งทาง
บกและทะเล โดยมีการจัดเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 15 ตุลาคม มีกิจกรรมการเก็บขยะทำความสะอาด ให้
สมกับคำขวัญว่า “สวรรค์เกาะพีพี” เน้นการมีส่วนร่วมจาก ภาคประชาชน กลุ่มรักษ์พีพี กลุ่มชมรมธุรกิจ
ท่องเที่ยว ชมรมวิทยุสมัครเล่นเกาะพีพี กลุ่มผู้ประกอบการดำน้ำ ผู้นำชุมชน รวมกันเสนอโครงการให้
อบต.อ่าวนางเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการ และดึงภาคส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม
ประกอบด้วย อำเภอเมืองกระบี่ สถานีตำรวจภูธรเกาะพีพี สถานีตำรวจท่องเที่ยวเกาะพีพี โรงเรียน
พระราชทานบ้านเกาะพีพี โรงพยาบาลเกาะพีพี อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี ได้เข้ามามี
ส่วนร่วมพร้อมเพรียงกันโดยนำอาหารและเครื่องดื่ม มาให้ผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งทางอบต.ได้ประหยัด
งบประมาณในส่วนของอาหารและเป็นการสร้างความร่วมมือความสามัคคีขององค์กรภาคส่วนต่างๆ และ
ทางภาคีเครือข่ายได้ขับเคลื่อนต่อยอดในการจัดกิจกรรมรณรงค์การรักษาสิ่งแวดล้อมเกาะพีพีเป็นประจำ
ทุกเดือน และยังสอดแทรกกิจกรรมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมการผูกเรือหัวโทง ของชมรมผู้ประกอบการ
เรือนำเที่ยว มาผนวกร่วมกับกิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวอีกทาง
หนึ่ง
3. โครงการปีนผา จดทะเบียนสมรส เป็นโครงที่มีที่มาจากผู้ประกอบการและชมรมธุรกิจ
ท่องเที่ยวอ่าวไร่เลย์ ซึ่งเป็นกิจกรรมการปีนผา มีความโดดเด่นและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวทั่วโลก และ
ได้นำมาเสนออบต.อ่าวนางเพื่อร่วมกันคิดค้นหารูปแบบการจัดกิจกรรม ได้ข้อสรุปว่า จะดำเนินกิจกรรม
การปีนผาจดทะเบียนสมรส โดยช่วงแรกได้จัดกิจกรรมร่วมกับการผูกเรือหัวโทง ซึ่งจัดขึ้นเดือนพฤศจิกายน
ของทุกปี และภาคส่วนอำเภอคือได้นำเสนอว่า ควรจัดในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อส่งเสริม
การท่องเที่ยวและประชาสัมพันธ์การตลาด โดยใช้ความโดดเด่นและความสวยงามตามธรรมชาติของอ่าว
ไร่เลห์ และเป็นการบูรณาการร่วมและประสานความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ชมรม
ในพื้นที่ และผสานผนวกรวมกับการส่งเสริมการท่องเที่ยวและกีฬาปีนผา และการนำกิจกรรมขอพรพระ
นาง ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่อ่าวไร่เลย์ มาเป็นจุดเด่นด้านประเพณีและวัฒนธรรมพื้นถิ่นเพื่อถ่ายทอดให้กับ
นักท่องเที่ยวและผู้เข้าร่วมงาน และความท้าทายคือ การปีนผาเป็นกิจกรรมที่เสี่ยงและอันตราย ต้องอาศัย
ความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ ชมรมปีนผา หน่วยงานรักษาความปลอดภัยในพื้นที่เป็นแกนหลักใน
การดำเนินงาน
นอกจากนี้ องค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง ได้มีความโดดเด่นด้านการส่งเสริมการมี
ส่วนร่วมของประชาชนโดยเน้นภาคส่วนต่างๆ ประกอบด้วยตัวแทนชุมชน กลุ่ม ชมรมในพื้นที่
ผู้ประกอบการโรงแรม ผู้ประกอบการท่องเที่ยว สถานศึกษา และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมี
กระบวนการทำงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วย การเริ่มต้นจากปัญหา การส่งเสริมให้
ภาคประชาชนเสนอความคิดเห็น ร่วมวางแผน ร่วมลงมือปฎิบัติ ร่วมรับผลประโยชน์ในโครงการกิจกรรม
ต่างๆ บนฐานของทรัพยากรของชุมชน ได้แก่ ฐานทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวทางทะเล และอุตสาหกรรม
โรงแรม และผู้ประกอบการร้านอาหารที่รองรับการท่องเที่ยวของพื้นที่อ่าวนาง
225