Page 275 - kpiebook62009
P. 275
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
จุดเด่นด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินได้นำเสนอโครงการกิจกรรมที่โดดเด่น ประกอบด้วย
1)โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กสานหน้าศาลาเอนกประสงค์ บ้านนายป่วน คุ้มสกุล (ช่วงที่ 2)
ตำบลเขาดิน อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ 2) โครงการการจัดงานวันสารทเดือนสิบตำบลเขาดิน ประจำปี
2562 และ 3) โครงการตำบลเขาดินไร้ขยะ ประจำปีงบประมาณ 2561
1. โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กฯ นั้นได้มีจุดเริ่มต้นจากประชาชนในพื้นที่ และ
ทางองค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การบูรณการการพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินร่วมกับตัวแทนภาคประชาคม ซึ่งเป็นเจตนาที่จะ
ร่วมมือกันพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของหมู่บ้านตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด โดยอาศัยประชาชนใน
พื้นที่ร่วมเป็นแรงงานชุมชนสมทบ ส่วน อบต. เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องเครื่องจักรกล สืบเนื่องจากโครงการ
ดังกล่าวนั้นเดนมได้ดำเนินมาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบันแล้วเสร็จจำนวน 8 โครงการ ซึ่งมาจากการ
นำเสนอของภาคประชาคมในพื้นที่ และกระบวนการดำเนินงานนั้นเริ่มจาก ก่อนการดำเนินงานได้มี
การอบรมให้ความรู้กับกลุ่มแรงงานอาสาสมัครเพื่อให้เกิดความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานและการดำเนินก่อสร้าง
ตามมาตรฐานกรมทางหลวงชนบท ได้รับความร่วมมือจากกรมทางหลวงชนบทจังหวัดกระบี่ ระหว่าง
ดำเนินการกลุ่มประชาชนอาสาสมัครจากกลุ่มแม่บ้านได้ร่วมกันทำอาหารและสามัคคีกันทำงานก่อสร้าง
ถนนและความรู้สึกภาคภูมิใจและความรู้สึกเป็นเจ้าของถนนที่ได้ก่อสร้างร่วมกัน เน้นกระบวนการมี
ส่วนร่วมของประชาชนเป็นอาสาสมัครแรงงานสมทบ
2. โครงการการจัดงานวันสารทเดือนสิบตำบลเขาดินฯ พบว่า ความสำคัญทางด้าน
การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่น ซึ่งวันสารทเดือนสิบถือว่าเป็นประเพณีที่มีความสำคัญต่อคนภาคใต้
โดยเฉพาะจังหวัดกระบี่นั้น องค์การบริหารส่วนตำบลเขาดินได้ดำเนินการจากความต้องการของประชาชน
ในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปราชญ์ชาวบ้านผ่านการทำ “กระจาด” หรือ “จาด” ซึ่งเป็น
กิจกรรมสำคัญในวันสารทเดือนสิบ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากอบต.เพียงหมู่บ้านละ ห้าพัน
บาท แต่การทำกระจาดแต่ละลูกนั้นต้องใช้ค่าใช้จ่ายจำนวน สองหมื่นถึงห้าหมื่นบาท และใช้เวลาในการทำ
อย่างน้อยสองเดือน ซึ่งอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนและครูภูมิปัญญา “ช่างกนก” แต่ละหมู่บ้าน และ
ตำบลเขาดินได้รับรางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพฯ อย่างต่อเนื่องมาทุกปี และ
กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนจากทุกกลุ่มวัยประกอบด้วย ผู้สูงอายุ วัยรุ่น เด็กนักเรียนในชุมชน
ได้เรียนรู้ภูมิปัญญาการทำกระจาดในงานวันสารทเดือนสิบ และได้รับความร่วมมือจากสภาวัฒนธรรมตำบล
เขาดิน และคณะกรรมการหมู่บ้านและสามารถขยายผลในการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา และงาน
ส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับจังหวัด ซึ่งโครงการดังกล่าวมีกระบวนการดำเนินงานประกอบด้วยการจัดขบวน
แห่ กิจกรรมการทำจาด 9 หมู่บ้าน กิจกรรมการละเล่นและเผยแพร่ศิลปะการแสดงกลองยาว พิธีกรรมทาง
ศาสนาในงานวันสารท มิติการมีส่วนร่วมในงานจากทุกภาคส่วน ประกอบด้วย สภาวัฒนธรรมตำบล
คณะกรรมการวัด กำหนดรูปแบบการทำจาด การแห่ขบวนจาดและกลองยาว คณะกรรมการหมู่บ้านจัดทำ
234