Page 245 - kpiebook62009
P. 245
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
(2) โครงการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนฐานวัฒนธรรมและชุมชน
โครงการนี้เป็นการนำเอา มูลค่าทางวัฒนธรรม มาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับชุมชน
นวัตกรรมนี้ดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์ “ลำพูนเป็นเมืองเก่า ที่มีเสน่ห์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี บนวิถี
ความพอเพียง ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน” จุดแข็งของชุมชนคือ “เป็นชุมชนดั้งเดิม มีความเป็นเครือญาติ
มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม” โดยวิถีชุมชนจึงเป็นแนวชุมชนดูแลชุมชนเอง
จึงเกิดโครงการนี้ขึ้น ที่ต่อยอดจากโครงการกองทุนชุมชนเพื่อการอย่างยั่งยืน ที่ผนวกเอา
2 กองทุน ได้แก่ กองทุนแม่ของแผ่นดิน และ กองทุนสวัสดิการสังคม นำมาบริหารโครงการแบบองค์รวม
มีสร้างกิจกรรมที่เกื้อกูล ส่งเสริมคุณภาพชีวิต ภายใต้ทรัพยากรทางสังคม จากการดำเนินการทำให้สมาชิก
ได้รับสวัสดิการถึง 98 คน เป็นเงินจำนวน 680,000 บาท
ซึ่งการเริ่มต้นของโครงการ เริ่มจากการสำรวจข้อมูล จปฐ พบข้อมูลที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คือ
คนที่อายุ 60 ปีขึ้นไป มีรายได้ใม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด จึงเป็นที่มาขอการคิดที่นำฐานวัฒนธรรมทุนเดิมมา
สร้างอาชีพ เพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรม โดยพิจารณาไปถึงสิ่งที่สามารถทำได้ และคิดร่วมกันกับสมาชิกกลุ่ม
ต่างๆ ในชุมชนถึง “เทศกาลถวายโคม” ที่เป็นเทศกาลของคนเมืองเมืองลำพูน ที่มีความเชื่อเกี่ยวกับ
“การถวายโคมคือความเป็นสิริมงคล” จึงมีใช้โคมในเทศกาลนี้เป็นจำนวนมาก ซึ่งในปี พ.ศ.2560 มีการใช้
โคมถึง 100,000 f;’ มูลค่าจากการจำหน่ายโคมสูงมาก แต่จัดซื้อจากพื้นที่อื่น ตรงจุดนี้จึงเป็นที่มาของ
การฝึกทักษะการทำโคมให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มอาชีพในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองลำพูน ตลอดจนมี
การพัฒนาฝีมือและออกแบบโคมล้านนาอัตลักษณ์เฉพาะขึ้นด้วย เน้น ความประณีต สวยงาม
ปัจจุบัน เกิดกลุ่มทำโคม 10 กลุ่ม จาก 4 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนจามเทวี ชุมชนช่างฆ้อง
ชุมชนสันพยางหลวง ชุมชนสันกาลอง ซึ่งชุมชนสามารถทำโคมให้เทศบาลเมืองลำพูน ส่วนใหญ่สมาชิกกลุ่ม
ทำโคมจะเป็นผู้สูงอายุ คนพิการ แม่บ้าน และเยาวชน จากนั้น เทศบาลประสานวัดพระธาตุหริภุญชัย
ซื้อโคมจากกลุ่มทำโคม
และ ในปี พ.ศ.2561 สามารถทำโคมได้ถึง 33,571 ดวง เป็นมูลค่า 1,251,250 บาท
นอกจากนั้น
ข้อค้นพบที่เป็นจุดเด่น จาก เทศกาลโคม ภายใต้โครงการ พบว่า
- พ.ศ.2561 สามารถทำโคมได้ถึง 33,571 ดวง เป็นมูลค่า 1,251,250 บาท
- เกิดกลุ่มอาชีพใหม่ในชุมชน ได้แก่ ทำโคม ทำเทียนประทีป ทำตุง ชุมชนรอบพระธาตุ
มีการทำกลุ่มเทียนสะเดาะเคราะห์ สร้างรายได้ถึง 440,000 บาท ร้านกาแฟ เชื่อมต่อไปยังธุรกิจอื่นๆ เช่น
ธุรกิจการโรงแรม โฮสเตรย์ ฯลฯ ชุมชนรอบพระธาตุหริภุชัย มีการนำวัฒนธรรมมาต่อยอดความคิด เช่น
กลุ่มเทียนสะเดาะเคราะห์รับโชค สร้างเป็นกลุ่มอาชีพใหม่ ซึ่งในช่วงงานเทศกาลโคมมีรายได้ถึง 440,000
บาท ผู้สูงอายุมีการร่วมกลุ่มอาชีพในการทำกรอวยดอกไม้ โดยใช้วัสดุธรรมชาติ 100% สามารถสร้าง
รายได้ 1,100,000 บาทต่อปี
- เกิดการยกระดับอาชีพ การมีรายได้
204