Page 241 - kpiebook62009
P. 241
รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเข้ารับรางวัลพระปกเกล้า ประจำปี 2562
จุดเด่นด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
1) การแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติ ไร้สถานะทางทะเบียนในเขตเทศบาลนครอุดรธานี
มีวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติไร้สถานะทางทะเบียนช่วยเหลือประชาชน
ผู้ตกหล่นทางทะเบียนที่ยังไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลักให้ได้รับการกำหนดสถานะตามกฎหมาย
และได้รับสิทธิต่างๆจากทางภาครัฐเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆให้ดีขึ้นโดยคำนึงถึงความสมดุล
ของสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์และความมั่นคงของชาติควบคู่กันไม่ใช้ปัญหาและข้อจำกัดในอดีตมาเป็น
อุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติไร้สถานะทางทะเบียน
เป็นกิจกรรมที่มีความโดดเด่นด้านการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน โดยให้ “ประธาน
ชุมชนทั้ง 104 ชุมชน เป็นอาสาสมัครทางทะเบียน และบัตรในเขตเทศบาล” เนื่องจากประธานชุมชน
จะมีความใกล้ชิดกับประชาชนในชุมชนมากที่สุด ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงาน
ทะเบียนราษฎรและงานบัตรประจำตัวประชาชน โดยจะมีการประชุมแกนนำทุกเดือน เพื่อปรึกษาหารือ
ในการกำหนดวิธีการช่วยเหลือคนไร้สัญชาติของแต่ละชุมชน และจัดทำประชาคม เพื่อรับรองและยืน
ยืนตัวบุคคล เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบร่วมกับคนในชุมชน รวมถึงการใช้ภาคีความร่วมมือกับ
หน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงพยาบาล กระทรวงการต่างประเทศ กรมการปกครอง กระทรวงพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กศน. เป็นต้น
2) โครงการก่อสร้างและบริหารจัดการระบบกำจัดมูลฝอยชุมชน
การก่อสร้างและบริหารจัดการระบบกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนขนาดไม่น้อยกว่า 300 ตันต่อ
วันโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะล้นเมืองและปัญหาในการหาพื้นที่การกำจัดขยะมูล
ฝอยของศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยจังหวัดอุดรธานีเพื่อให้มีการกำจัดขยะมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
ป้องกันการแก้ไขปัญหาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆในการกำจัด
ขยะมูลฝอยโดยใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานเน้นการแปรรูปเป็นพลังงานหรือทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด
เป็นโครงการที่ภาคประชาชนมีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นตอนการร่วมคิด จากการตระหนักถึงปัญหา
ขยะล้นเมือง ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากประชาคม และการประชุมสภา โดนทางเทศบาลได้เห็น
ความสำคัญจึงนำมาบรรจุในแผนพัฒนาฯของเทศบาลนครอุดรธานี จนกลายเป็น “แผนบริหารจัดการขยะ
มูลฝอยอุดรธานี” โดยได้ “จัดตั้งคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลมูลฝอย” โดยมีตัวแทนจากภาค
ประชาชน หน่วยงานรัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานีเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ
3) โครงการลดก๊าซเรือกระจก ภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย
เป็นโครงการต่อยอดจากโครงการก่อสร้างและบริหารจัดการระบบกำจัดมูลฝอยชุมชน
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ
และสามารถนำปริมาณการลดก๊าซการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิต
ซึ่งกระบวนการเกิดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพครบวงจรและเกิดการใช้ทรัพยากรให้
เกิดประโยชน์สูงสุด
200