Page 21 - kpiebook62008
P. 21
ฑ
การใช้จ่ายเงินภาษีจำเป็นต้องคำนึงถึงการสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีหรือมีการคุ้มครองสิทธิ
ของผู้เสียภาษีอย่างเหมาะสม กล่าวคือ รัฐจำต้องเคารพต่อหลักความชอบด้วยกฎหมายภาษี และหลักความเสมอ
ภาค พร้อมทั้งคำนึงถึงหลักการบริหารภาษีที่ดี การบังคับตามกฎหมายภาษีจำต้องกระทำอย่างได้สัดส่วนแห่งสิทธิ
มีความโปร่งใส เปิดโอกาสให้โต้แย้งคัดค้าน และมีกระบวนการตรวจสอบการจัดเก็บและการใช้เงินภาษี
หน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีในประเทศไทย
ในแง่ของหน้าที่ของผู้เสียภาษี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้มีการกำหนด
หน้าที่ของผู้เสียภาษีไว้ในฐานะเป็นหน้าที่หนึ่งของปวงชนชาวไทย ในการกำหนดนโยบายของรัฐ รัฐธรรมนูญฉบับ
ปัจจุบันได้กำหนดกรอบการจัดทำนโยบายภาษีไว้ในรูปของหน้าที่ของรัฐในการรักษากรอบวินัยการเงินการคลัง
นโยบายแห่งรัฐในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ ในส่วนของการตรากฎหมาย
เพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษี รัฐสภาต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิในทรัพย์สิน และ
คำนึงถึงหลักความเสมอภาค ส่วนกระบวนการจัดเก็บภาษี ประมวลรัษฎากรมิได้กำหนดเรื่องสิทธิของผู้เสียภาษีไว้
เป็นการเฉพาะ ทั้งยังจำเป็นต้องนำกฎหมายอื่นมาใช้บังคับในบางขั้นตอน แต่ประมวลรัษฎากรได้เปิดโอกาสให้ผู้
เสียภาษีมีสิทธิในการโต้แย้งคัดค้านการประเมินภาษี ในขณะที่กระบวนการตรวจสอบการจัดเก็บและใช้เงินภาษี
กฎหมายที่เกี่ยวข้องมิได้กำหนดให้สิทธิแก่ผู้เสียภาษีโดยตรง แต่ผู้เสียภาษีอาจใช้สิทธิในการตรวจสอบผ่านองค์กร
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้
แนวทางการคุ้มครองสิทธิของต่างประเทศ
ในการศึกษาหน้าที่และแนวทางการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส
และสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ได้นำหลักความยินยอมทางภาษีและหลักความชอบด้วยกฎหมายของภาษีมาใช้
เป็นลำดับต้น ๆ ของโลก โดยได้บัญญัติเอาไว้ในคำประกาศสิทธิและคำประกาศอิสรภาพในช่วงจุดเปลี่ยนผันทาง
การเมืองเมื่อเกิดการปฏิวัติขึ้น
หน่วยงานจัดเก็บภาษีแห่งสหรัฐอเมริกามีการประกาศสิทธิของผู้เสียภาษีเอาไว้อย่างชัดเจนโดยมี “บัญญัติ
สิทธิของผู้เสียภาษี” ๑๐ ประการ ซึ่งแม้มิใช่กฎหมาย แต่เป็นหลักการที่รับรองสิทธิของผู้เสียภาษีเอาไว้ ซึ่งใน