Page 20 - kpiebook62008
P. 20

บทสรุปผู้บริหาร


                       การบริหารราชการแผ่นดินจำเป็นต้องอาศัยรายได้ของรัฐเป็นตัวขับเคลื่อน รายได้ของรัฐส่วนใหญ่มาจาก

               การจัดเก็บภาษี รัฐธรรมนูญจึงต้องกำหนดให้หน้าที่ในการเสียภาษีเป็นของสมาชิกภายในรัฐเพื่อให้สมาชิกของรัฐ

               เกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการเสียภาษีและสร้างจิตสำนึกแก่สมาชิกเหล่านั้น การจัดเก็บภาษีจึงมักถูก

               มองในมุมของหน้าที่ของผู้เสียภาษีเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีเป็นการใช้อำนาจรัฐจำกัดสิทธิใน

               ทรัพย์สินของปัจเจกบุคคลเพื่อนำมาสร้างประโยชน์มหาชน การจัดเก็บภาษีจึงต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้เสียภาษีและ

               จำกัดสิทธิดังกล่าวภายใต้หลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้

               กำหนดให้มีหน้าที่ในการเสียภาษีไว้เป็นหนึ่งในหน้าที่ของปวงชนชาวไทย และมีการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติและ

               แผนการปฏิรูปประเทศเพื่อเป็นกรอบในการดำเนินนโยบายของรัฐ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมิได้


               กำหนดสิทธิของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะ การจัดเก็บภาษีเป็นการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินของประชาชนประการ
               หนึ่ง จึงเกิดเป็นประเด็นปัญหาว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ให้ความสำคัญแก่สิทธิ


               ของผู้เสียภาษีเพียงพอหรือไม่ อย่างไร และรัฐควรดำเนินการเช่นไรเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิ

               ของผู้เสียภาษีให้มีมากขึ้น โดยที่ประเด็นปัญหาดังกล่าวเป็นประเด็นปัญหาหลักของงานวิจัยฉบับนี้

                       ในการตอบประเด็นปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้เริ่มต้นจากการศึกษากรอบแนวคิดว่าด้วยภาษี : การจำกัด


               สิทธิของปัจเจกบุคคลเพื่อประโยชน์มหาชน (บทที่ ๒) ทั้งนี้ เพื่อให้เห็นภาพรวมของแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
               กับงานวิจัย เมื่อทราบถึงกรอบความคิดว่าด้วยภาษีแล้ว จำเป็นต้องพิจารณาถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจากลักษณะ


               ของสถานะหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีในประเทศไทย (บทที่ ๓) ในการศึกษาตัวอย่าง ผู้วิจัยได้ศึกษาแนว

               ทางการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีในต่างประเทศ (บทที่ ๔) เมื่อได้ทราบถึงสถานะของหน้าที่และสิทธิของผู้เสีย

               ภาษีในประเทศไทยแล้ว ผู้วิจัยได้นำปัญหามาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแนวทางของต่างประเทศโดยพิจารณากรอบ

               แนวคิดว่าด้วยภาษีประกอบด้วยเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีใน

               ประเทศไทย





                       กรอบแนวคิดว่าด้วยภาษี : การจำกัดสิทธิของปัจเจกบุคคลเพื่อประโยชน์มหาชน

                       การจัดเก็บภาษีเป็นการใช้อำนาจรัฐในการจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษี กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับภาษีตั้งแต่

               กรอบการกำหนดนโยบายภาษี การตรากฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษี กระบวนการระหว่างการจัดเก็บภาษี ตลอดจน
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25