Page 16 - kpiebook62008
P. 16
บทคัดย่อ
ภาษีเป็นรายได้หลักของรัฐเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนการบริหารราชการแผ่นดิน ประชาชนจึงต้องมีหน้าที่ใน
การเสียสละทรัพย์สินของตนเพื่อนำมาเป็นภาษี ด้วยเหตุนี้ การเสียภาษีจึงมักถูกมองว่าเป็นเรื่องของหน้าที่เป็น
หลักโดยละเลยสิทธิของผู้เสียภาษีไป การเสียภาษีนั้นเป็นไปโดยอาศัยอำนาจรัฐในการบังคับให้ประชาชนจ่ายเงิน
ให้แก่รัฐ การเสียภาษีจึงต้องคำนึงถึงสิทธิของผู้เสียภาษีด้วย ดังนั้น การสร้างความสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิ
ของผู้เสียภาษีเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยจะต้องสร้างความสมดุลตั้งแต่การกำหนดนโยบายทางภาษี การ
ตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของภาษี กระบวนการการจัดเก็บภาษี และการควบคุมตรวจสอบการจัดเก็บและการใช้
เงินภาษี
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยกำหนดให้การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนดังปรากฏให้เห็นใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับถาวรทุกฉบับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช
๒๔๗๕ จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน
การจัดเก็บภาษีถูกกำหนดไว้ในนโยบายแห่งรัฐโดยที่รัฐต้องรักษาวินัยการเงินการคลังและจัดระบบภาษีให้เกิด
ความเป็นธรรมแก่สังคม พร้อมทั้งยังถูกกำหนดไว้ในยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศเพื่อให้การกำหนด
นโยบายต่าง ๆ ของรัฐให้สอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในการตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีตาม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ สิทธิของผู้เสียภาษีมิได้ถูกกำหนดไว้เป็นการเฉพาะแต่ถูก
จัดเป็นสิทธิในทรัพย์สินประการหนึ่ง การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของการ
ตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิในทรัพย์สินและยังต้องคำนึงถึงหลักความเสมอภาคทางภาษี ส่วนการควบคุม
ตรวจสอบการใช้เงินภาษี รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ได้กำหนดกระบวนการทาง
งบประมาณไว้ ทั้งนี้ รายละเอียดของการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียภาษีจำเป็นต้องพิจารณาตามกฎหมายอื่น อาทิ
ประมวลรัษฎากร พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. ๒๕๖๑ พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทาง
ปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.๒๕๒๘
พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ พระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูป
ประเทศ พ.ศ. ๒๕๖๐
ด้วยเหตุที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มิได้กำหนดเรื่องสิทธิของผู้เสียภาษีไว้
เป็นการเฉพาะจึงเกิดปัญหาว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ อาจให้ความสำคัญแก่สิทธิ
ของผู้เสียภาษีอย่างไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องวิธีสร้างสมดุลระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษี ในการสร้างสมดุล
ระหว่างหน้าที่และสิทธิของผู้เสียภาษีให้บังเกิดขึ้นโดยจำเป็นต้องศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอันได้แก่ หลัก