Page 23 - kpiebook62008
P. 23

ณ

                       ๒. ในประเด็นเกี่ยวกับองค์กรที่กำหนดนโยบายและมาตรการทางภาษี ในปัจจุบัน หน่วยงานผู้ริเริ่ม

               นโยบายภาษีค่อนข้างมีความหลากหลาย นโยบายภาษีจึงขาดความเป็นเอกภาพและขาดหลักประกันการคุ้มครอง

               สิทธิของผู้เสียภาษี ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมการที่ปรึกษานโยบายภาษีแห่งชาติ” ซึ่งประกอบไป

               ด้วยผู้เชี่ยวชาญทางภาษีอากรและทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษารัฐบาลในการจัดทำนโยบายและมาตรการทางภาษี


                       ๓. ในประเด็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การตรากฎหมายภาษีในรัฐธรรมนูญ ในปัจจุบัน การตรากฎหมายเพื่อ

               จำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีจำเป็นต้องใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการจำกัดสิทธิในทรัพย์สิน จึงก่อให้เกิดการมอบอำนาจให้

               ฝ่ายบริหารในการตรากฎหมายลำดับรองเพื่อกำหนดโครงสร้างภาษีที่สำคัญ ผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการบัญญัติ

               หลักเกณฑ์การตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิของผู้เสียภาษีขึ้นเป็นการเฉพาะไว้ในรัฐธรรมนูญพร้อมทั้งกำหนดกรอบ

               การมอบอำนาจให้ฝ่ายบริหารในการตรากฎหมายลำดับรอง


                       ๔. ในประเด็นเกี่ยวกับการใช้ระบบการตอบหนังสือข้อหารือ ในปัจจุบัน ระบบการตอบหนังสือข้อหารือยัง

               ไม่มีกฎหมายรองรับซึ่งส่งผลให้ยังมิได้มีผลผูกผันกับกรมสรรพากรและยังมิได้มีการกำหนดระยะเวลาการตอบ

               หนังสือข้อหารือ ผู้วิจัยจึงเห็นควรกำหนดให้มีการเพิ่มเติมระบบการตอบหนังสือข้อหารือไว้ในประมวลรัษฎากรโดย

               กำหนดให้การตอบหนังสือข้อหารือมีผลผูกพันกรมสรรพากรและมีการกำหนดระยะเวลาการตอบหนังสือข้อหารือ

               ทั้งนี้ อาจให้อำนาจกรมสรรพากรกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นออกมาในรูปของกฎหมายลำดับรอง


                       ๕. ในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดสิทธิของผู้เสียภาษีไว้เป็นการเฉพาะ บทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครอง

               สิทธิในระหว่างการจัดเก็บภาษียังมิได้กำหนดบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิของผู้เสียภาษีและยังจำต้องอาศัยกฎหมายอื่น

               มาใช้บังคับ ผู้วิจัยเห็นควรให้มีการกำหนดหมวดเกี่ยวกับสิทธิของผู้เสียภาษีให้แยกออกมาและมีการกำหนด

               กระบวนการเป็นการเฉพาะเพื่อให้เกิดความแน่นอนชัดเจน


                       ๖. ในประเด็นเกี่ยวกับคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ผู้วิจัยเห็นควรปรับองค์ประกอบของคณะกรรมการ

               พิจารณาอุทธรณ์ให้เพิ่มเติมผู้เชี่ยวชาญทางภาษีเข้าไปเป็นองค์ประกอบเพื่อให้การวินิจฉัยของคณะกรรมการ

               พิจารณาอุทธรณ์มีประสิทธิภาพและมีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น


                       ๗. ในประเด็นเกี่ยวกับการควบคุมตรวจสอบโดยระบบงบประมาณ ระบบงบประมาณของประเทศไทยยัง

               เป็นระบบขาเดียวซึ่งก็ทำให้รายรับและรายจ่ายไม่สมดุลกัน ในการแก้ไขปัญหาระยะยาวผู้วิจัยจึงเห็นควรให้มีการ

               เปลี่ยนแปลงระบบงบประมาณของประเทศไทยจากระบบขาเดียวมาเป็นระบบสองขาโดยมีการพิจารณา

               งบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่ายไปพร้อมกัน แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยเวลา จึงเห็น
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28