Page 164 - kpiebook62008
P. 164

๑๓๓

               Revenue Code โดยกฎหรือระเบียบนั้นจะมีลักษณะเป็นการตีความกฎหมายเป็นการทั่วไปและให้แนวทางปฏิบัติ

               เพื่อให้ผู้เสียภาษีสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยกฎหรือระเบียบจะมีการเผยแพร่ใน Federal

               Register
                       ๒๒๐



               ๒๗๓.  คำสั่งของกรมสรรพากรเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการเสียภาษี ในการตีความกฎหมายเพื่อปรับใช้กับ
               ข้อเท็จจริงที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจง กล่าวคือ การตีความกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ (statutes) อนุสัญญา

               ภาษีซ้อนต่าง ๆ และกฎหรือระเบียบเพื่อปรับใช้กับกลุ่มบุคคลที่อยู่ในสถานการณ์หรือมีข้อเท็จจริงที่มีลักษณะ

               เฉพาะเจาะจง IRS จะออกเป็นคำสั่งสรรพากร (Revenue Ruling) โดยคำสั่งสรรพากรดังกล่าวจะมีการเผยแพร่ใน

               Internal Revenue Bulletin เช่น การให้สิทธิหักค่าใช้จ่ายหรือลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายในการใช้รถยนต์ ก็คือ

               เจาะจงเฉพาะกลุ่มบุคคลที่ใช้รถยนต์ ไม่ใช่บุคคลทั่วไป ทั้งนี้ คำสั่งสรรพากรมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย




               ๒๗๔.  เมื่อมีคำสั่งสรรพากรให้สิทธิแก่ผู้เสียภาษี ก็จะออกเป็นวิธีการปฏิบัติสรรพากร (Revenue Procedure)
               โดยวิธีการปฏิบัติสรรพากรนั้นจะระบุวิธีการหรือขั้นตอนในการปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิในการหักค่าใช้จ่ายหรือ

               ลดหย่อนภาษีตามที่ออกมาในคำสั่งสรรพากร โดยจะมันถูกตีพิมพ์เผยแพร่ใน Internal Revenue Bulletin

               เช่นเดียวกัน เช่น วิธีการปฏิบัติสรรพากรอาจระบุว่าผู้ที่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายรถยนต์บางอย่างควรคำนวณโดยใช้อัตรา

               ไมล์สะสมที่แน่นอนแทนการคำนวณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจริง




               ๒๗๕.  ผลผูกพันของหนังสือตอบข้อหารือ ในกรณีที่ผู้เสียภาษีมีข้อสงสัยหรือข้อหารือใด ๆ เป็นการส่วนตัว ก็

               อาจยื่นหนังสือหารือมาได้ที่ IRS โดย IRS จะดำเนินการออกหนังสือตอบข้อหารือส่วนตัว (Private Letter Ruling
               : PLR) ซึ่งมีลักษณะเป็นคำแถลงเป็นลายลักษณ์อักษรที่ออกให้กับผู้เสียภาษีเพื่อตีความและใช้กฎหมายภาษีอากร

               กับข้อเท็จจริงที่เฉพาะเจาะจงของผู้เสียภาษี โดย PLR นั้นจะมีผลผูกพันหน่วยงานจัดเก็บภาษีก่อนที่การทำ

               ธุรกรรมตามข้อเท็จจริงนั้นจะเสร็จสมบูรณ์หรือก่อนที่ผู้ยื่นภาษีจะยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีอากร โดยมี

               ข้อกำหนดว่าผู้เสียภาษีจะต้องบรรยายข้อหารือมาอย่างสมบูรณ์และถูกต้องเกี่ยวกับธุรกรรมที่เกิดขึ้นจริงในคำขอ

               และดำเนินการตามที่ได้หารือไว้ในที่สุด จึงจะผูกพันหน่วยงานจัดเก็บภาษี ทั้งนี้ PLR ไม่อาจใช้เป็นแนวทางการ

               ตอบข้อหารือในการอ้างอิงสำหรับข้อเท็จจริงของผู้เสียภาษีรายอื่นโดยผู้เสียภาษีหรือเจ้าพนักงาน IRS และ PLR



               ๒๒๐  เทียบได้กับราชกิจจานุเบกษา
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169