Page 179 - kpiebook62004
P. 179

บทบาทนานาชาติต่อกระบวนการสร้างสันติภาพในชายแดนใต้ของไทยและบางมุมมองต่อภาพอนาคต




                       3. รัฐควรทบทวนนโยบายที่เกี่ยวกับการสร้างสันติภาพและความสงบสุขในชายแดนใต้โดยเฉพาะใน

               ยุทธศาสตร์การพัฒนาชาติ 20 ปี ซึ่งเป็นฉากทัศน์ของอนาคตที่ควรจะให้คนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการก าหนด

               ปรับเปลี่ยน และออกแบบให้สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมและความต้องการของคนในพื้นที่ โดยเฉพาะมิติการ
               สร้างความมั่นคงในความเป็นมนุษย์ และลดกรอบความมั่นคงทางการทหารและการใช้ก าลังลง และใช้กรอบ

               ความมั่นคงในความเป็นมนุษย์ที่มีอัตลักษณ์ศักดิ์ศรีมากขึ้นเพื่อสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อสันติสุขในระยะยาว

                       4. รัฐควรเปิดโอกาสให้มีตัวแทนของภาคประชาชนพลเรือนที่มีหลากหลายที่มา และมีนักการเมือง
               หรือผู้แทนของประชาชนในพื้นที่เข้าไปร่วมสังเกตการณ์ หรือร่วมในคณะพุดคุย เพื่อจะได้เป็นปากเป็นเสียง

               แทนประชาชนในพื้นที่
                       5. รัฐโดยคณะพูดคุยฯ ควรมีพื้นที่สื่อสารสร้างการรับรู้ถึงกระบวนการพูดคุยที่เดินหน้าอยู่ว่าได้

               ด าเนินงานอย่างไรบ้างให้กับประชาชนในพื้นที่และนานาชาติได้รับทราบ


               ข้อเสนอเชิงการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาพ

                       1.  รัฐและฝ่ายขบวนการฯ ควรให้ความส าคัญกับการประสานความร่วมมือกับองค์กรนานาชาติเพื่อ
                          พัฒนาทางด้านความรู้ในหลักการและขั้นตอนการพูดคุยท าให้เรื่องการพูดคุยสันติภาพเป็นที่รับรู้

                          ทั่วไปในสังคม และโดยเฉพาะในเรื่องบทบาทหน้าที่ของฝ่ายที่สามในกระบวนการสันติภาพ เพื่อ

                          ลดความหวาดระแวงและเป็นการใช้ศักยภาพของนานาชาติให้เป็นประโยชน์ต่อการสร้าง
                          สันติภาพที่ยั่งยืนในพื้นที่

                       2.  รัฐควรดึงความร่วมมือจากนานาชาติในการท างานเสริมศักยภาพของภาคประชาสังคมในพื้นที่

                          ชายแดนใต้ เพื่อช่วยหนุนเสริมและติดตามความคืบหน้าของการพูดคุยสันติภาพ และควรจัดให้มี
                          วงสานเสวนาเพื่อการก าหนดฉากทัศน์อนาคตชายแดนใต้

                       3.  ทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจในสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไข
                          ปัญหาด้วยสันติวิธีให้แพร่หลาย เพื่อเชิญชวนให้สังคมไทยเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ความเป็นไปของ

                          กระบวนการสันติภาพและร่วมเป็นโครงข่ายนิรภัยประคับประคองให้กระบวนการพูดคุยสันติภาพ

                          เดินหน้าไปสู่จุดมุ่งหมายเร่งด่วนที่สุดคือ ลดการใช้ความรุนแรงของทุกฝ่าย และร่วมกันแก้ไข
                          ปัญหาที่รากเหง้าของความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ร่วมกัน

                       4.  รัฐและฝ่ายขบวนการฯ ควรเคารพหลักกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดความชอบ
                          ธรรมต่อนานาชาติและกระบวนการพูดคุยสามารถเดินหน้าต่อไปได้

                       5.  รัฐควรที่จะจัดสรรพื้นที่กลางในการติดตามและการประเมินกระบวนการพูดคุยจากภาคประชา

                          สังคม ภาควิชาการ ภาครัฐ และภาคการเมือง (สมาชิกรัฐสภา โดยเฉพาะ ส.ส. และ ส.ว.ในพื้นที่)







                                                           135
   174   175   176   177   178   179   180   181   182   183   184