Page 163 - kpiebook62004
P. 163
บทบาทนานาชาติต่อกระบวนการสร้างสันติภาพในชายแดนใต้ของไทยและบางมุมมองต่อภาพอนาคต
โครงสร้างการเมืองการปกครองของประเทศ เป็นอุปสรรคส าคัญของการแก้ปัญหาสามจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ ความเป็นเอกภาพของประเทศไทย หากจะให้มีการพูดคุยกันจริง ประเทศไทยต้องเคลียร์
ข้างบนก่อน มิเช่นนั นก็ไปได้ยาก
ภาคประชาสังคมในพื้นที่หญิง: ความท้าทายของการกระบวนการสันติสุข คือ ประเทศไทยต้อง
มีความต่อเนื่องในเรื่องของการพูดคุย ตอนนี รัฐไทยมีความพร้อมแต่ยังไม่ได้เริ่มคุยก็เข้าใจ BRN ได้ว่าก็เริ่ม
เหมือนกัน ในบางกระแสเราว่ารัฐไทยเหมือนไม่อยากจะคุย รัฐไทยรู้สึกว่าตัวเองยังไม่แพ้ คนไม่แพ้เขาไม่อยาก
พูดคุย อยากให้รัฐบาลเข้าใจว่ารัฐบาลไม่เจ็บ คนที่นี่ตาย เราอยากให้รัฐสะทกสะท้าน เราอยากให้รัฐบาลที่มี
อ านาจพูดคุยไปเลย ในระหว่างพูดคุยมีข้อตกลงไหม มีข้อตกลงก่อนฆ่ากันไหม ถ้าคุยกันไม่รู้เรื่องค่อยฆ่ากัน
ไหม เราก็เสนอหลายครั งแล้ว
ความเห็นของภาคประชาสังคม: กระทรวงการต่างประเทศ และกรรมการในคณะพูดคุยบางคน
ที่เห็นว่าการลงนามในข้อตกลงใด ๆ จะเป็นการยกระดับการยอมรับต่อ มารา ปาตานี ในระดับประเทศซึ่ง
ต่อไปอาจไปถึงระดับระหว่างประเทศ สุดท้ายไม่มีการลงนาม (อาจเป็นได้ที่มีการลอบบี กับผู้มีอ านาจตัดสินใจ)
คณะพูดคุยชุดพลเอกอุดมชัยมีแนวทางของตนเอง และคงไม่ได้ต่อยอดงานของชุดก่อน แต่บังเอิญมีเหตุ
ขลุกขลักในการประสานงานบางประการ ท าให้มารา ปาตานี ประกาศว่าจะไม่คุยกับคณะกรรมการชุดนี ท าไม
ความเห็นนี คล้ายกันกับความเห็นของปาร์ตี เอ ข้างล่างข้อที่ 1
มุมมองจากอดีตคณะท างานพูดคุย: ถ้าให้วิเคราะห์ก็ คงจะมองว่า
1. ในส่วนของ Party A กรรมการในคณะพูดคุยชุดพลเอกอักษราไม่ได้ใกล้ชิดกับงานมากนัก
งานเกือบทั งหมดอยู่ที่คณะท างาน การพูดคุยคืบหน้าไปอย่างดี จนได้รูปแบบพื นที่ปลอดภัยระดับอ าเภอ ซึ่ง
คล้าย ๆ การให้ autonomy ในพื นที่ย่อย ๆ เพื่อเป็นการทดลองก่อน คณะพูดคุยก็พร้อมที่จะให้มีการลงนาม
ในข้อตกลง แต่ติดขัดที่ตัวแทนกระทรวงการต่างประเทศ และกรรมการในคณะพูดคุยบางคนที่เห็นว่าการลง
นามในข้อตกลงใด ๆ จะเป็นการยกระดับการยอมรับต่อ มารา ปาตานี ในระดับประเทศซึ่งต่อไปอาจไปถึง
ระดับระหว่างประเทศ สุดท้ายไม่มีการลงนาม (อาจเป็นได้ที่มีการลอบบี กับผู้มีอ านาจตัดสินใจ) สงสัยว่าท าไม
ความคิดนี คล้ายกันกับความคิดของภาคประชาสังคมข้างบน
2. ในส่วนของ Party B นั น บี อาร์ เอ็น ต้องการมา take over การพูดคุย คณะพูดคุย
ฝ่ายรัฐบาลทราบประเด็นนี และก าลังหาทางประนีประนอมกันในเรื่องนี ถ้าการประนอมไม่เป็นผล อาจเป็นว่า
ทั งมารา ปาตานี และ บี อาร์ เอ็นฝ่ายกองก าลังอาจปฏิเสธที่จะพูดคุยกับคณะกรรมการชุดพลเอกอุดมชัยไป
เลย แต่ก็ยังขึ นอยู่กับเหตุปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายเหตุปัจจัย รวมทั งเหตุปัจจัยทางการเมืองในทั งสองประเทศ
119