Page 157 - b30427_Fulltext
P. 157

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           การพัฒนานโยบายพื้นฐานส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาของประเทศให้ไปสู่ความเป็นเลิศ
           และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพ และทันต่อ

           การเปลี่ยนแปลง กฎหมายฉบับนี้ได้ให้อำนาจคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ
           ในการทำหน้าที่ดำเนินการตามนโยบายและแผนพัฒนาการกีฬา อันจะทำให้
           การบริหารจัดการด้านการกีฬาเป็นระบบและมีเครือข่ายในการพัฒนาการกีฬาที่ชัดเจน

           ยิ่งขึ้น

                      (ฉ)  พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2562

                         ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการใช้กีฬาเป็นเครื่องมือพัฒนา

           คุณภาพของพลเมืองและกำหนดให้มีการปฏิรูปประเทศด้านการกีฬา จึงได้ออก
           พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2562 เพื่อยกฐานะสถาบัน
           การพลศึกษาให้เป็นมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ เพื่อจัดการศึกษา และการวิจัยด้าน

           การกีฬา การพลศึกษา วิทยาศาสตร์การกีฬา การบริหารจัดการกีฬา การประกอบ
           ธุรกิจและอุตสาหกรรมการกีฬา รวมทั้ง ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนากีฬา
           ภูมิปัญญาไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ เพื่อประโยชน์

           ในการสร้างและพัฒนาบุคลากรด้านการกีฬาของประเทศ


                 4.1.2  การระงับข้อพิพาททางการกีฬาของประเทศไทย

                     การระงับข้อพิพาททางการกีฬาของประเทศไทยในส่วนนี้ ผู้วิจัยจะอธิบาย
           4 ส่วน คือ (1) การระงับข้อพิพาทการกีฬาในระดับสมาคมกีฬา (2) การระงับข้อ
           พิพาทในระดับองค์กรบริหารกีฬา ตามกฎหมายส่งเสริมกีฬาอาชีพ และกฎหมาย

           ควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา (3) การระงับข้อพิพาทในระดับศาล และ
           (4) ข้อเสนอให้จัดตั้งอนุญาโตตุลาการทางการกีฬาขึ้นในประเทศไทย

                      (1)  การระงับข้อพิพาทการกีฬาในระดับสมาคมกีฬา


                         กล่าวโดยทั่วไป การระงับข้อพิพาทแบ่งออกได้หลายระดับ ตั้งแต่
           การเจรจาต่อรอง (Negotiation) การไกล่เกลี่ยหรือการประนอมข้อพิพาท (Mediation)
           อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) จนถึงการพิจารณาพิพากษาคดีโดยศาล (Adjudication)
                                                                                   157

                 157  ดู ณัฐวุฒิ จันทร์ศรีบุตร, “ปัญหาทางกฎหมายในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ :
           ศึกษาเฉพาะกรณีกีฬาฟุตบอลอาชีพ,” (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,
           2556), 25-40.


                                             1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   152   153   154   155   156   157   158   159   160   161   162