Page 153 - b30427_Fulltext
P. 153

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:                                                         กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
                             ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย                            ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           ได้ให้อำนาจองค์กรกำกับกีฬาที่เป็นหน่วยงานภาครัฐตามกฎหมายในการจัดทำ
           กิจกรรมทางปกครองและออกคำสั่งทางปกครอง ในทางตรงกันข้ามความสัมพันธ์

           ระหว่างองค์กรกำกับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
           ในแวดวงกีฬาที่เป็นเอกชนเป็นความสัมพันธ์บนพื้นฐานเท่าเทียมกันระหว่างเอกชนกับ
           เอกชน ความสัมพันธ์เช่นว่านี้เกิดขึ้นตามหลักความสมัครใจของเอกชนกับเอกชน

           หมายความว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาที่เป็นเอกชน (เช่น สโมสรกีฬาอาชีพ
           นักกีฬาอาชีพ) ยอมตนเข้าผูกพันทางสัญญา (contractual obligations)
           กับองค์กรกำกับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน (เช่น สมาคมกีฬาอาชีพ)

           ซึ่งหากฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ และกติกาที่องค์กรกำกับกีฬาที่เป็น
           นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนกำหนดเอาไว้ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาที่เป็น
           เอกชน (เช่น สโมสรกีฬาอาชีพ นักกีฬาอาชีพ) ต้องรับโทษที่ระบุเอาไว้ในสัญญาหรือ

           ต้องรับโทษตามที่ผูกพันสัญญาว่าจะปฏิบัติตามกฎ ระเบียบและกติกาที่องค์กรกำกับ
           กีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน (เช่น การพักการแข่งขันนักกีฬาอาชีพ
           ทำผิดระเบียบของสมาคมกีฬาอาชีพ การกำหนดค่าปรับต่อสโมสรกีฬาอาชีพที่ทำผิด

           ระเบียบการแข่งขันฟุตบอลของผู้จัดการแข่งขันระบบลีก เป็นต้น


                 4.1.1 กฎหมายที่เกี่ยวกับการกีฬาของประเทศไทย
                     อีกประการหนึ่งประเทศไทยได้บัญญัติกฎหมายกีฬาในลักษณะที่เป็น

           กฎเกณฑ์แบบเป็นทางการอย่างเป็นระเบียบแบบแผนและใช้บังคับความประพฤติของ
           ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาหรือธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา กฎเกณฑ์แบบเป็น

           ทางการเช่นว่านี้ถูกบัญญัติเอาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและกฎเกณฑ์ดังกล่าวมีทั้งที่เป็น
           กฎหมายกีฬาที่ออกโดยฝ่ายนิติบัญญัติ (เช่น พระราชบัญญัติ) และกฎหมายกีฬา
           ที่ออกโดยฝ่ายบริหาร (เช่น พระราชกฤษฎีกาและกฎกระทรวง) ตัวอย่างของ
           กฎหมายกีฬาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (เช่น พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542

           พระราชบัญญัติควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา พ.ศ. 2555 และพระราชบัญญัติ
           ส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556) หากฝ่าฝืนกฎหมายเช่นว่านี้ ผู้กระทำการอันฝ่าฝืน

           ต่อกฎหมายอาจถูกลงโทษ (โทษทางอาญาหรือโทษทางปกครอง) นอกจากนี้
           ยังมีกฎหมายให้อำนาจองค์กรกำกับกีฬาที่เป็นหน่วยงานภาครัฐหรือเป็นนิติบุคคล
           ตามกฎหมายมหาชนในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองเพื่อให้อำนาจจัดทำการบริการสาธารณะ
           ด้านกิจการกีฬาและกำกับดูแลในการบริหารการกีฬาในประเทศไทย (เช่น




                                             1 2
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158