Page 154 - b30427_Fulltext
P. 154

กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:    กฎหมายกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย:
 ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย     ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างกฎหมายกีฬาอังกฤษ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกาและไทย


           พระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558) ในขณะเดียวกันหากเกิด
           ข้อพิพาทในแวดวงกีฬาทั้งข้อพิพาททางแพ่ง ข้อพิพาททางอาญา หรือข้อพิพาททาง

           ปกครองแล้ว หากไม่มีกฎหมายบัญญัติเอาไว้เป็นการเฉพาะในประเด็นข้อพิพาททางกีฬา
           ดังกล่าวแล้ว ศาลยุติธรรมหรือศาลปกครองอาจตีความของตัวบทกฎหมายลายลักษณ์อักษร
           ที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันโดยปรับจากหลักเกณฑ์ที่บังคับใช้อยู่แล้วมาปรับใช้กับข้อพิพาท

           ทางกีฬาสำหรับกฎหมายแม่บทที่เกี่ยวข้องกับการสร้างธรรมาภิบาลกีฬาและส่งเสริม
           มาตรฐานการกีฬาในประเทศไทย ได้ถูกบัญญัติขึ้นมาหลายฉบับด้วยกัน จึงมี
           ความจำเป็นที่จะต้องหยิบยกในส่วนของกฎหมายแม่บทฉบับที่สำคัญขึ้นมาเพื่อกล่าวถึง

           บริบทในเรื่องของธรรมาภิบาลและมาตรฐานกีฬา ตลอดจนกฎหมายแม่บทฉบับยังได้
           บรรจุหลักการพื้นฐานในการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของนักกีฬาในประเทศไทย
           รวมถึงการนำเอากลไกและมาตรการที่จำเป็นมาบรรจุเอาไว้ในกฎหมายเพื่อกำกับกีฬา

           และการจัดการแข่งขันกีฬาให้ได้มาตรฐานระดับประเทศและระดับนานาชาติ

                      (ก)  พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542

                         เนื่องจากกีฬามวยไทยเป็นกีฬาที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน

           และถือเป็นศิลปะการต่อสู้ประจำชาติที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น รวมทั้งกีฬามวย
           ได้รับความสนใจจากทั้งผู้สนใจในทุกเพศทุกวัยทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศ
           มาฝึกฝนตนเองจนกลายเป็นนักกีฬาสมัครเล่นและนักกีฬาอาชีพ ตลอดจนกีฬามวย

           ได้มีการจัดการแข่งขันอย่างแพร่หลายและเป็นกีฬาที่สุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตราย
           ต่อชีวิตและร่างกายจากการกระทบกระทั่งกันของนักกีฬา เหตุนี้เองรัฐจึงได้ตรา
           พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 ขึ้น เพื่อให้อำนาจหน่วยงานของรัฐ ได้แก่

           คณะกรรมการมวย มีอำนาจตามกฎหมายเพื่อควบคุมการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับ
           กีฬามวย สถานที่ที่จัดการฝึกซ้อมและแข่งขันกีฬามวย จัดให้มีสวัสดิการแก่นักมวย
           และบุคคลในวงการมวยที่เหมาะสม รวมทั้งมีอำนาจกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่

           และจรรยาบรรณของบุคคลในวงการกีฬามวย

                         อีกประการหนึ่งกฎหมายฉบับนี้ยังได้กำหนดให้จัดตั้งสำนักงาน
           คณะกรรมการมวย ภายใต้สังกัดของการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อดำเนินระบบ

           การขึ้นทะเบียน (registration system) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในวงการกีฬามวย อาทิ
           นักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสิน และหัวหน้าค่ายมวย ระบบการออกใบอนุญาต (licensing
           system) เพื่อทำการขอรับใบอนุญาตหรือต้องได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน



                                              1
                                          สถาบันพระปกเกล้า
   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159