Page 8 - 30423_Fulltext
P. 8

2



                       กีฬาหรือการสร้างธรรมาภิบาลกีฬาในชนิดกีฬาต่างๆ เพื่อให้เป็นหลักเกณฑ์ใช้อ้างอิงและปฏิบัติตาม

                       กันเป็นการทั่วไปในแวดวงกีฬา เหตุนี้เององค์กรก ากับกีฬา (หรือ SGBs) ในฐานะที่เป็นนิติบุคคลตาม
                                                                       4
                       กฎหมายเอกชนที่มีหน้าที่ก ากับกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาก็ดี หรือ นิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนที่มี
                                                                        5
                       หน้าที่ก ากับนโยบายและกิจการกีฬาระดับประเทศก็ตาม  ต่างก็ต้องพยายามสร้างกฎ ระเบียบ
                       ข้อบังคับและกติกาให้มีมาตรฐาน ใช้ต้องก าหนดความประพฤติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬา
                       และระบุแนวปฏิบัติที่ถูกต้องให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแข่งขันกีฬา หากผู้มี

                       ส่วนได้ส่วนเสียกระท าการอย่างหนึ่งอย่างใดฝ่าฝืนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกา อาจต้องเผชิญกับ

                       การบังคับใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาตามสภาพบังคับเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแต่ละชนิด
                       กีฬาหรือในวงการกีฬาต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ซึ่งสภาพบังคับของกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและ

                       กติกาในท านองนี้อาจมีทั้งสภาพบังคับที่เป็นผลดีและสภาพบังคับที่เป็นผลร้าย

                               ส าหรับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาที่ก าหนดมาตรฐานและสร้างธรรมาภิบาลในแวดวง

                                                              6
                       กีฬานั้น อาจมีที่มาได้จาก 3 แหล่งที่มาด้วยกัน  อาทิ (ก) กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาที่องค์กร
                       ก ากับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนและนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนได้บัญญัติเอาไว้เป็น
                       ลายลักษณ์อักษรขึ้นมาเพื่อเป็นหลักเกณฑ์ก าหนดความประพฤติของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวข้องกับ

                       การกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาและประกาศให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทราบอย่างเป็นทางการ (ข) กฎ ระเบียบ

                       ข้อบังคับและกติกาที่องค์กรก ากับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนและนิติบุคคลตามกฎหมาย




                       4  ในทางทฤษฎีองค์กรก ากับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน มักก่อตั้งในรูปแบบของสมาคม (Associations)
                       เพื่อก ากับดูแลในแต่ละชนิดกีฬาหรืออาจก่อตั้งในรูปแบบของบริษัทเอกชน (Private Companies) เพื่อจัดการ
                       แข่งขันระบบการแข่งขันแบบลีก (League System) ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย ซึ่งองค์กรก ากับกีฬาที่เป็นนิติบุคคล

                       ตามกฎหมายเอกชนในรูปแบบของสมาคมกีฬาอาจออกกฎหรือค าสั่งมาเพื่อใช้ก ากับดูแลธรรมาภิบาลและควบคุม
                       ระเบียบวินัยกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาหรือองค์กรก ากับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนในรูปแบบของบริษัท
                       อาจออกกฎหรือค าสั่งมาเพื่อควบคุมการแข่งขันกีฬาอาชีพให้เป็นระเบียบเรียบร้อย การออกกฎหรือค าสั่งเช่นว่านี้

                       ย่อมเป็นอ านาจเด็ดขาด (Monopoly Power) ขององค์กรก ากับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนโดยแท้
                       โปรดดู Simon Boyes, "Sport in Court: Assessing Judicial Scrutiny of Sports Governing Bodies,"
                       Nottingham Trent University, Accessed July 27, 2020,

                       http://irep.ntu.ac.uk/id/eprint/31582/1/PubSub9059_Boyes.pdf.
                       5  Eddie T. C. Lam, “The Roles of Governance in Sport Organizations,” Journal of Power, Politics &
                       Governance 2, no.2 (2014): 19-31.
                       6  อย่างไรก็ตาม ในระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common Law) ค าพิพากษาของศาลจึงเป็นบ่อเกิดของกฎ

                       ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อศาลยุติธรรมได้วินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของนักกีฬาหรือข้อ
                       พิพาทเกี่ยวกับธรรมาภิบาลกีฬาเอาไว้ครั้งหนึ่งแล้ว ศาลยุติธรรมซึ่งพิจารณาคดีอันมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน

                       ย่อมต้องผูกพันที่จะต้องพิจารณาพิพากษาตามที่ค าพิพากษาในคดีก่อน ๆ ได้วางหลักเกณฑ์เอาไว้ โปรดดูคดี
                       Eastham v Newcastle United Football Club Ltd [1964] Ch 413.
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13