Page 7 - 30423_Fulltext
P. 7
บทที่ 1
บทนำ
1.1 ที่มา เหตุผล และความสำคัญของงานวิจัย
1
การแข่งขันกีฬาสมัครเล่นและกีฬาอาชีพ (Amateur and Professional Sports) ได้เข้า
มามีส่วนส าคัญในการเสริมสร้างสุขอนามัยให้กับผู้สนใจละเล่นกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาและสร้างความ
เพลิดเพลินให้แก่ผู้ติดตามชมการแข่งขันกีฬาในแต่ละประเภทกีฬา โดยการละเล่นกีฬาในแต่ละชนิด
กีฬาถือเป็นการประกอบกิจกรรมที่ต้องด าเนินไปภายใต้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาที่แน่นอน
2
ตามแต่ละชนิดกีฬา เมื่อการละเล่นกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาจะต้องมีกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาที่
ใช้เป็นแนวทางพื้นฐานในการแข่งขันกีฬาและอยู่ร่วมกันในสังคมกีฬาแล้ว เพื่อให้นักกีฬาสมัครเล่น
และนักกีฬาอาชีพ ตลอดจนถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ประพฤติปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและ
กติกาเหล่านี้ องค์กรก ากับกีฬา (Sports Governing Bodies หรือ SGBs) ในแต่ละชนิดกีฬาก็ต้อง
พัฒนากฎเกณฑ์ในการละเล่นกีฬาขึ้นมาตามแต่ละชนิดกีฬา เพื่อป้องกันไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดถูกเอารัด
เอาเปรียบอย่างไม่เป็นธรรมเพียงฝ่ายเดียว ควบคู่ไปกับส่งเสริมความเป็นธรรมให้กับผู้เข้าแข่งขัน
สามารถได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในการแข่งขันกีฬาในแต่ละชนิดกีฬา ด้วยเหตุที่กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับและกติกาเหล่านี้ไม่เพียงต้องมีสภาพบังคับท าให้นักกีฬาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับ
การแข่งขันกีฬาทุกคนยอมรับนักถือและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเท่านั้น หากแต่กฎ ระเบียบ
ข้อบังคับและกติกาเหล่านี้ยังต้องมีมาตรฐาน (Standard) การแข่งขันกีฬาหรือการบริหารจัดการการ
แข่งขันกีฬาเป็นสิ่งที่ยอมรับนับถือเป็นการทั่วไป
มาตรฐานการแข่งขันกีฬาหรือการบริหารจัดการการแข่งขันกีฬาจะเกิดขึ้นมาได้หรือไม่นั้น
3
องค์กรก ากับกีฬาต้องมีส่วนส าคัญในการก าหนดมาตรฐาน (Standardisation) ให้มีกลไกหรือ
กระบวนการน าไปสู่ในการวางกฎ ระเบียบ ข้อบังคับและกติกาเกี่ยวกับการละเล่นกีฬา การแข่งขัน
1 Timothy Davis, “What Is Sports Law?,” Marquette Sports Law Review 11, no.2 (2001): 211-244.
2 Alfonso Valero, “In Search of a Working Notion of Lex Sportiva,” International Sports Law
Journal 14, no.1-2 (2014): 3-11.
3 Ken Foster, “Lex Sportiva and Lex Ludica: the Court of Arbitration for Sport's Jurisprudence,”
Entertainment and Sports Law Journal 3, no.1 (2005): 1-15.