Page 12 - 30423_Fulltext
P. 12

6



                       1.2 วัตถุประสงค์และขอบเขตของโครงการวิจัย


                               1 เพื่อศึกษาและทบทวนแนวความคิดพื้นฐานว่าด้วยกฎหมายกีฬาของประเทศไทยและ

                       กฎหมายกีฬาต่างประเทศ

                               2 เพื่อศึกษาวิเคราะห์กฎหมายกีฬาของประเทศไทยและกฎหมายกีฬาประเทศอังกฤษ

                       สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

                               3 เพื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายของกฎหมายกีฬาของประเทศไทยและกฎหมายกีฬา

                       ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น

                               4 เพื่อเสนอแนะแนวทางปรับปรุงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เกื้อกูลต่อการสนับสนุน

                       การกีฬาเพื่อไปสู่ระดับความเป็นเลิศและพัฒนากีฬาอาชีพที่ยั่งยืน



                       1.3 วิธีการดำเนินโครงการวิจัย


                               งานวิจัยฉบับนี้ มุ่งท าการศึกษา ทบทวนและวิเคราะห์ในลักษณะการวิจัยเชิงเอกสาร

                       (Documentary Research) โดยศึกษาทบทวนแนวความคิดพื้นฐานว่าด้วยกฎหมายกีฬาของประเทศ

                       ไทยและกฎหมายกีฬาต่างประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่น เพื่อน ามา
                       วิเคราะห์ในเชิงกฎหมายกีฬาเปรียบเทียบ (Comparative Sports Law) ว่ากฎหมายกีฬาของ

                       ประเทศไทยมีปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิเกี่ยวกับนักกีฬาและการเสริมสร้างธรรมาภิบาลกีฬา

                       อย่างไรบ้าง อันจะน าไปสู่การปรับปรุงข้อกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เกื้อกูลต่อการสนับสนุนการ
                       กีฬาเพื่อไปสู่ระดับความเป็นเลิศและพัฒนากีฬาอาชีพที่ยั่งยืน การศึกษา 3 ประเทศดังกล่าวมีเหตุผล

                       ดังนี้

                                 การศึกษาวิจัยฉบับนี้ได้หยิบยกกฎหมายกีฬาอังกฤษมาท าการศึกษาวิเคราะห์ เหตุที่เป็น

                       เช่นนี้ก็เพราะกฎหมายกีฬาอังกฤษส่วนหนึ่งได้มีพัฒนาการมาจากกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common

                       Law) (หรือเรียกกันว่า ระบบกฎหมายจารีตประเพณี) มาใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาพิพากษา
                       คดีเพื่อให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันเพื่อรับรองสิทธิของอันเป็นประโยชน์ของนักกีฬาหรือผู้มีส่วนได้

                       ส่วนเสียในแวดวงกีฬาที่กฎหมายอังกฤษมิให้มีผู้ใดมาล่วงละเมิดหรือเพื่อคุ้มครองเสรีภาพของนักกีฬา

                       หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาให้อ านาจที่จะตัดสินใจกระท าหรืองดเว้นกระท าการอย่างหนึ่ง
                       อย่างใดอันไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ดังเคยปรากฏไว้ในคดีส าคัญที่ศาลยุติธรรมอังกฤษได้วินิจฉัย

                       วางหลักเกณฑ์รับรองสิทธิและคุ้มครองเสรีภาพของนักกีฬา (เช่น คดี Eastham v Newcastle

                       United Football Club Ltd [1964] Ch 413 เป็นต้น) อีกทั้งกฎหมายกีฬาอังกฤษอีกส่วนหนึ่งได้
                       พัฒนาการมาจากตรากฎหมายลายลักษณ์อักษร (Statutory Law) ส าหรับควบคุมความประพฤติของ

                       ผู้คนในแวดวงกีฬาหรือผู้เข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับการแข่งขันกีฬาเอาไว้ โดยก าหนดลักษณะของการ
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17