Page 11 - 30423_Fulltext
P. 11
5
เช่น สมาคมกีฬาระดับชาติ (นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนประเภทสมาคม) และบริษัทเอกชน
ผู้จัดการแข่งขันกีฬาระดับชาติ (นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนประเภทบริษัท) ก็ได้พัฒนากฎเกณฑ์
ระเบียบ กติกาและข้อบังคับของตนเพื่อให้ผู้มีส่วนร่วมกับการแข่งขันกีฬาอาชีพ (Professional
Sports Participants) เช่น เจ้าของสโมสรกีฬา ผู้ฝึกสอนกีฬา กรรมการผู้ตัดสินกีฬา นักกีฬาอาชีพ
และผู้ชมการแข่งขันกีฬา ต่างต้องเคารพกฎเกณฑ์ ระเบียบ กติกาและข้อบังคับร่วมกัน อันน าไปสู่การ
สร้างการแข่งขันกีฬาและพัฒนากิจกรรมกีฬาให้มีมาตรฐาน การก าหนดมาตรฐานเช่นว่านี้ย่อมท าให้
การจัดการแข่งขันกีฬาและการด าเนินกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกีฬามีขั้นตอนในการบริหาร มี
กระบวนการด าเนินการขององค์กรก ากับกีฬาเพื่อให้เกิดการพัฒนากีฬาในแต่ละชนิดกีฬาอย่างมี
ประสิทธิภาพและบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
อย่างไรก็ตามโดยที่ปัญหาทางกฎหมายที่เกิดขึ้นในแวดวงกีฬาและธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬา
ในปัจจุบันมีความซับซ้อนยุ่งยากมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แม้จะเคยมีการบัญญัติกฎหมายลายลักษณ์อักษร
เกี่ยวกับการส่งเสริมสนับสนุนธรรมาภิบาลกีฬาทั่วไปและธรรมาภิบาลในบางชนิดกีฬามาใช้บังคับเป็น
ระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่กลับปรากฏว่ามีปัญหาทางกฎหมายในธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาเกิดรูปแบบ
ใหม่ๆ ทั้งที่เป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของนักกีฬาและปัญหาเกี่ยวกับธรรมาภิบาลในแวดวงกีฬา ในการ
ด าเนินการของธุรกิจอุตสาหกรรมกีฬาที่มีความสลับซับซ้อนมากขึ้นและมีปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับ
ธรรมาภิบาลกีฬาเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายส่งผลให้จ าเป็นต้องมีการศึกษากฎหมายกีฬา (Sports law)
การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายใหม่ โดยยกเลิกกฎหมายที่เป็นปัญหาหรืออุปสรรคต่อการส่งเสริม
สนับสนุนสิทธิของนักกีฬา รวมทั้งการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายต่าง ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
และศักยภาพนักกีฬาให้มีความเป็นเลิศสู่การประกอบอาชีพนักกีฬาที่ยั่งยืนและมีเส้นทางอาชีพ
นักกีฬาที่มั่นคง แม้ในปัจจุบันกฎหมายกีฬายุคใหม่ของประเทศไทยจะเกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทาง
กฎหมายในบางชนิดกีฬาและมีบทบัญญัติในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลกีฬาและการใช้อ านาจเหนือ
องค์กรก ากับกีฬา (นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน) ได้ดีกว่ายุคเดิม แต่ทว่ากลไกทางกฎหมายส าหรับ
แก้ไขปัญหาดังกล่าวอาจมีข้อจ ากัดในทางกฎหมายและอุปสรรคบางประการ หากปราศจาก
หลักเกณฑ์ที่เหมาะสมในกฎหมายกีฬายุคใหม่ของประเทศไทย
จากปัญหาดังกล่าวที่กล่าวมา ผู้ศึกษาเห็นว่าควรมีการศึกษาและวิเคราะห์ถึงกฎหมายกีฬา
ของประเทศไทยที่หน่วยงานของรัฐด้านกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชนได้บัญญัติขึ้น เพื่อใช้
บังคับกับองค์กรก ากับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาให้
ปฏิบัติตามหรือเพื่อก าหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างผู้ที่อยู่ในวงการกีฬาหรือระหว่างผู้ที่อยู่
ในวงการกีฬากับรัฐ ในฐานะที่รัฐมีฐานะเหนือองค์กรก ากับกีฬาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในระบบกฎหมายไทยและปัญหา
ทางกฎหมายที่เกิดขึ้นในประเทศไทย รวมทั้งเปรียบเทียบกฎหมายกับกฎหมายกีฬาต่างประเทศเพื่อ
น าข้อเสนอแนะที่ได้จากงานวิจัยมาประกอบกับการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายกีฬาในอนาคต