Page 120 - 30423_Fulltext
P. 120
114
ขึ้นมา เพื่อก าหนดกลไกการพัฒนานโยบายพื้นฐานส่งเสริมและพัฒนาการกีฬาของประเทศให้ไปสู่
ความเป็นเลิศและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพและทันต่อการ
เปลี่ยนแปลง กฎหมายฉบับนี้ได้ให้อ านาจคณะกรรมการนโยบายการกีฬาแห่งชาติ ในการท าหน้าที่
ด าเนินการตามนโยบายและแผนพัฒนาการกีฬา อันจะท าให้การบริหารจัดการด้านการกีฬาเป็นระบบ
และมีเครือข่ายในการพัฒนาการกีฬาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
(ฉ) พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ.2562
ประเทศไทยได้ให้ความส าคัญกับการใช้กีฬาเป็นเครื่องมือพัฒนาคุณภาพของพลเมืองและ
ก าหนดให้มีการปฏิรูปประเทศด้านการกีฬา จึงได้ออกพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
พ.ศ.2562 เพื่อยกฐานะสถาบันการพลศึกษาให้เป็นมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ เพื่อจัดการศึกษา
และการวิจัยด้านการกีฬา การพลศึกษา วิทยาศาสตร์การกีฬา การบริหารจัดการกีฬา การประกอบ
ธุรกิจและอุตสาหกรรมการกีฬา รวมทั้ง ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนากีฬาภูมิปัญญาไทยให้
เป็นที่ยอมรับในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ เพื่อประโยชน์ในการสร้างและพัฒนาบุคลากรด้าน
การกีฬาของประเทศ
4.1.2 การระงับข้อพิพาททางการกีฬาของประเทศไทย
การระงับข้อพิพาททางการกีฬาของประเทศไทยในส่วนนี้ ผู้วิจัยจะอธิบาย 4 ส่วน คือ
(1) การระงับข้อพิพาทการกีฬาในระดับสมาคมกีฬา (2) การระงับข้อพิพาทในระดับองค์กรบริหาร
กีฬา ตามกฎหมายส่งเสริมกีฬาอาชีพ และกฎหมายควบคุมการใช้สารต้องห้ามทางการกีฬา (3) การ
ระงับข้อพิพาทในระดับศาล และ (4) ข้อเสนอให้จัดตั้งอนุญาโตตุลาการทางการกีฬาขึ้นในประเทศ
ไทย
(1) การระงับข้อพิพาทการกีฬาในระดับสมาคมกีฬา
กล่าวโดยทั่วไป การระงับข้อพิพาทแบ่งออกได้หลายระดับ ตั้งแต่การเจรจาต่อรอง
(Negotiation) การไกล่เกลี่ยหรือการประนอมข้อพิพาท (Mediation) อนุญาโตตุลาการ
1
(Arbitration) จนถึงการพิจารณาพิพากษาคดีโดยศาล (Adjudication) หากไม่มีกลไกอื่น ๆ ก่อน
เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้น เรื่องราวมักไม่พ้นต้องไปจบลงที่ศาล ไม่ว่าศาลปกครองหรือศาลยุติธรรม
(ส าหรับประเทศไทย) แล้วแต่กรณี (ดูเพิ่มเติมหัวข้อการระงับข้อพิพาทในศาล)
1 ดู ณัฐวุฒิ จันทร์ศรีบุตร, “ปัญหาทางกฎหมายในการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ : ศึกษาเฉพาะกรณีกีฬา
ฟุตบอลอาชีพ,” (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2556), 25-40.