Page 116 - 30423_Fulltext
P. 116

110







                                                            บทที่ 4



                                     กฎหมายกีฬาไทยและบทวิเคราะห์เปรียบเทียบ







                       4.1 กฎหมายกีฬาไทย


                              ในปัจจุบันประเทศไทยได้บัญญัติกฎหมายหลายฉบับเกี่ยวกับการก ากับธรรมาภิบาลกีฬาและ

                       กฎหมายส่งเสริม บูรณาภาพทางกีฬา พร้อมกับวางมาตรการส่งเสริมสนับสนุนการปกครองในแต่ละ
                       ชนิดกีฬาและสร้างมาตรฐานกิจกรรมการแข่งขันกีฬา ซึ่งองค์กรก ากับกีฬาที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ

                       ได้รับมอบอ านาจจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการให้อ านาจและก าหนดหน้าที่ให้จัดท าบริการสาธารณะ

                       ด้านส่งเสริมสนับสนุนกิจการกีฬาและบริการสาธารณะด้านก ากับธรรมาภิบาลกีฬา โดยองค์กรก ากับ
                       กีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

                       เช่นว่านี้อย่างเคร่งครัด ในขณะเดียวกันองค์กรก ากับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนยังคงมี

                       อ านาจในการปกครองกีฬาในแต่ละชนิดกีฬาตามหลัก Self-Regulation พร้อมกับมีอ านาจในการ
                       ออกกฎ ระเบียบและค าสั่งขึ้นมาเพื่อปกครองและก ากับกีฬาในแต่ละชนิดกีฬา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน

                       แต่ละชนิดกีฬา เช่น สโมสรกีฬาอาชีพ นักกีฬาอาชีพ ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบและค าสั่ง

                       ขององค์กรก ากับกีฬาที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนอย่างเคร่งครัด หากฝ่าฝืนอาจต้องรับโทษ
                       ทางการปกครองกีฬา (ในแต่ละชนิดกีฬา) ให้อ านาจจัดท ากิจกรรมทางปกครองและออกค าสั่งทาง

                       ปกครอง ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรก ากับกีฬาที่เป็นหน่วยงานภาครัฐกับผู้มีส่วนได้ส่วน

                       เสียในแวดวงกีฬาที่เป็นเอกชน ย่อมเป็นความสัมพันธ์ในทางมหาชนกล่าวคือเป็นความสัมพันธ์
                       ระหว่างองค์กรก ากับกีฬาที่เป็นหน่วยงานภาครัฐในฐานะที่เป็นฝ่ายปกครองมีอ านาจเหนือผู้มีส่วนได้

                       ส่วนเสียในแวดวงกีฬาในฐานะที่เป็นเอกชน(มีความสัมพันธ์ที่ไม่เท่าเทียม) ซึ่งกฎหมายมหาชนทาง

                       กีฬาได้ให้อ านาจองค์กรก ากับกีฬาที่เป็นหน่วยงานภาครัฐตามกฎหมายในการจัดท ากิจกรรมทาง
                       ปกครองและออกค าสั่งทางปกครอง ในทางตรงกันข้ามความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรก ากับกีฬาที่เป็น

                       นิติบุคคลตามกฎหมายเอกชนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาที่เป็นเอกชนเป็นความสัมพันธ์บน

                       พื้นฐานเท่าเทียมกันระหว่างเอกชนกับเอกชน ความสัมพันธ์เช่นว่านี้เกิดขึ้นตามหลักความสมัครใจของ
                       เอกชนกับเอกชน นั้นหมายความว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงกีฬาที่เป็นเอกชน (เช่น สโมสรกีฬา

                       อาชีพ นักกีฬาอาชีพ) ยอมตนเข้าผูกพันทางสัญญา (contractual obligations) กับองค์กรก ากับกีฬา

                       ที่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเอกชน (เช่น สมาคมกีฬาอาชีพ)  ซึ่งหากฝ่าฝืนไม่ยอมปฏิบัติตามกฎ
   111   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121