Page 53 - 30422_Fulltext
P. 53
| 44
บทบาทของสื่อใหม่กับการเมือง การถือก าเนิดของสื่อใหม่สามารถท าการสื่อสารเนื้อหาที่เป็นความ
ต้องการในรูปแบบเฉพาะเจาะจงแก่ผู้ฟัง อันเนื่องมาจากตัวเลือกในการเป็นผู้ให้ข้อมูลเนื้อหามีจ านวนมากขึ้น
อันเป็นผลมาจากอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้ ข้อดีของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น คือ ความสามารถในการส่งต่อข้อมูลที่เป็น
เนื้อหาเฉพาะแก่ผู้ฟังในวงกว้างขึ้น อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาของอินเทอร์เน็ต คือ สภาวะอันล้นเกินของ
ข้อมูล ข่าวปลอมที่ส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของสื่อและแม้กระทั่งส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งในเชิงลบ
กล่าวคือ บุคคลที่เชื่อในข่าวปลอมมีแนวโน้มที่จะไม่ไปเลือกตั้งบุคคลหนึ่ง ๆ เพียงเพราะความเชื่อในข่าวปลอมนั้น
นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่เป็นผลกระทบมาจากอินเทอร์เน็ตคือประเด็นทางจริยธรรมบนโลกออนไลน์
พอดแคสต์กับการเมือง พอดแคสต์ถือเป็นสื่อที่ถูกจัดอยู่ในประเภทของสื่อใหม่ โดยระยะแรกของ
การใช้พอดแคสต์เป็นสื่อกลาง เป็นการใช้พอดแคสต์เพื่อบันทึกสิ่งที่อยู่นอกเหนือไปจากงานเขียนเพื่อขยาย
ความเนื้อหาของข่าวสาร และถูกน าเสนอโดยนักข่าว ในระยะต่อมาพอดแคสต์ได้ถูกน ามาใช้กันอย่างแพร่หลาย
ทั้งในด้านงานวิชาการ ด้านการสื่อสารมวลชน รวมไปถึงด้านการสื่อสารทางการเมือง ทั้งนี้ การจัดรายการ
พอดแคสต์ไม่ได้มีต้นทุนที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดท าสื่อประเภทอื่น ๆ ดังนั้น จึงเป็นจุดก าเนิดของการ
จัดรายการทั้งในรูปแบบของนักจัดรายการมือสมัครเล่นและการจัดรายการโดยองค์กรสื่อสารมวลชนและองค์กร
ประเภทอื่น ๆ เพื่อเป็นหนึ่งในช่องทางการกระจายข่าวสารเพิ่มเติม ทั้งนี้ ในกรณีของการสื่อสารทางการเมือง
พบว่า พอดแคสต์รายการการเมืองสามารถสร้างแรงกระเพื่อมทางการเมืองให้เกิดขึ้นได้จริง อาทิเช่น รายการ
พอดแคสต์ทางการเมืองในประเทศเกาหลีใต้ Naneun Ggomsuda ที่ถือเป็นสื่อทางเลือกที่ท าให้ผู้ใช้ภาษา
เกาหลีเลือกการใช้การฟังพอดแคสต์เพื่อเข้าฟังในข้อวิพากษ์-ข้อเท็จจริง ที่สื่อกระแสหลักในเกาหลีใต้ไม่สามารถ
กระท าได้เนื่องจากระบบเซ็นเซอร์ของสื่อมวลชน