Page 51 - 30422_Fulltext
P. 51
| 42
และ Center for Strategic and International Studies (CSIS) เป็นองค์กรวิจัยนโยบายที่ไม่ได้แสวงหาก าไร
ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1962 (Center for Strategic and International Studies, n.d.)
ส าหรับบทบาทของพอดแคสต์ที่ส่งผลทางการเมืองในประเทศเกาหลีใต้ รายการพอดแคสต์ที่มีชื่อว่า
Naneun Ggomsuda ได้ก่อให้เกิดกระแสต่อสาธารณชนในการตั้งค าถามในการท างานของประธานาธิบดี
และพรรคการเมืองต้นสังกัดของประธานาธิบดีลี เมียง-บัค พรรค Grand National Party (GNP) รายการ
Naneun Ggomsuda ถือเป็นรายการที่ได้รับความนิยมสูงสุดในรายการพอดแคสต์ภาคภาษาเกาหลี
โดยในเดือนธันวาคมปี ค.ศ. 2012 เป็นช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ รายการ Naneun Ggomsuda
ถือเป็นรายการที่มีเนื้อหาต่อต้านประธานาธิบดีลี เมียง-บัค ซึ่งรายการเนื้อหาในลักษณะเช่นนี้ ไม่ได้ปรากฏอยู่
ในสื่อกระแสหลัก เช่น หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์ ทั้งนี้ รายการ Naneun Ggomsuda มีผู้เข้าฟังมากถึง
6 ล้านครั้ง (Koo, Chung & Kim, 2015: 421; LA Times, 2011 as cited in Koo, Chung & Kim, 2015,
p. 421-422) รายการ Naneun Ggomsuda ออกอากาศรายสัปดาห์ โดยเริ่มออกอากาศเมื่อวันที่ 27 เมษายน
ค.ศ. 2011 มีผู้จัดรายการจ านวน 4 คน การออกอากาศรายการท าผ่านระบบ iTunes และผู้ฟังรายการจ านวน
มากของรายการอยู่ในช่วงอายุ 20-30 ปี (Koo, Chung & Kim, 2015, p. 425)
สาเหตุที่ท าให้พอดแคสต์รายการการเมือง Naneun Ggomsuda ประสบความส าเร็จในการเข้าถึง
ผู้ฟังชาวเกาหลีเป็นจ านวนมากมาจากหลากหลายปัจจัย ได้แก่ การเพิ่มมาตรการในการเซ็นเซอร์เนื้อหา
การออกอากาศของสื่อกระแสหลักโดยรัฐบาล สื่อกระแสหลักได้กลายเป็นสื่อที่ท าหน้าที่ในการโฆษณาชวนเชื่อ
ให้กับรัฐบาล ส่งผลต่อการลดระดับความน่าเชื่อถือของสื่อ และสื่อตกอยู่ในสภาวะที่ไม่กล้าวิพากษ์วิจารณ์
รัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา นอกจากนี้ ยังมีประเด็นในการเข้าถึงเทคโนโลยีในการรับฟังรายการพอดแคสต์ของ
ประชาชนเกาหลีใต้ รวมไปถึงความสามารถของผู้ด าเนินรายการที่สร้างบรรยากาศรายการให้ชวนติดตาม
มีความสนุกสนาน ด้วยการใช้ส านวนภาษาที่แฝงไปด้วยความขบขันและเสียดสี (Economist Intelligence
Unit as cited in Koo, Chung & Kim, 2015: 424; Koo, Chung & Kim, 2015, p. 424-425, 432) ผลจาก
การส ารวจของงานวิจัย พบว่า ผู้ฟังรายการมีความเชื่อมั่นในข้อมูลของรายการ Naneun Ggomsuda
มากกว่าสื่อกระแสหลัก (Koo, Chung & Kim, 2015, p. 425) ข้อสรุปของงานวิจัยระบุไว้อย่างน่าสนใจว่า
รายการ Naneun Ggomsuda มีอิทธิพลต่อการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีของโซล โดยผู้ได้รับการเลือกตั้ง คือ
ผู้สมัครอิสระและสามารถท าคะแนนสูงถึง 3 เท่าของผู้สมัครจากพรรครัฐบาล (Koo, Chung & Kim, 2015,
p. 432) ข้อสังเกตประการหนึ่งที่มีต่ออิทธิพลของรายการ Naneun Ggomsuda คือ ผลของการเลือกตั้ง
ที่เห็นได้ชัดเจนเกิดขึ้นในเมืองหลวงของเกาหลีใต้-โซล หมายความว่ามีผู้ใช้งานพอดแคสต์ที่ฟังรายการเป็น
จ านวนมากอาศัยอยู่ในโซล