Page 52 - 30422_Fulltext
P. 52

| 43

                         ผลสรุปงานวิจัยของ Koo, Chung & Kim (2015) ท าให้เห็นถึงอิทธิพลของพอดแคสต์ที่มีต่อผู้เลือกตั้ง

                  ในช่วงวัยก่อน 30 ปี และรายการสามารถส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจทางการเมืองและกระตุ้นการมีส่วนร่วม
                  ทางการเมืองของผู้ฟังรายการ ปัจจัยหลักที่ท าให้พอดแคสต์ประสบความส าเร็จอีกประการ คือ ความสามารถ

                  ในการเข้าถึงเทคโนโลยีและความคุ้นชินในการใช้พอดแคสต์เป็นเครื่องมือในการรับฟังรายการ โดยผลจากการ

                  ส ารวจผู้ใช้งานพอดแคสต์จากหลากหลายประเทศ โดยใช้วิธีการสอบถามถึงการใช้งานของพอดแคสต์
                  ในรอบเดือน พบว่า ประชากรจากเกาหลีใต้มีอัตราการเข้าใช้งานพอดแคสต์มากที่สุดในโลกอยู่ที่ร้อยละ 58

                  ของประชากรตัวอย่าง โดยประเทศสเปน และประเทศสวีเดน อยู่ในล าดับที่ 2 (ร้อยละ 40) และ 3 (ร้อยละ 36)

                  ตามล าดับ (Bhardwaj & Cheng, 2018)

                         ในภาพรวม รายการพอดแคสต์ที่ถูกจัดอยู่ในประเภทรายการการเมือง มีรายการส่วนหนึ่งถูกจัดอยู่ใน

                  ประเภทรายการข่าวการเมือง และรายการประเภทรัฐบาลที่มีความหลากหลายของเนื้อหา ทั้งนี้ องค์กรสื่อ

                  ที่จัดท าพอดแคสต์การเมืองมีความหลากหลายตั้งแต่องค์กรสื่อประเภทสื่อดั้งเดิม สื่อใหม่ องค์กรระหว่าง
                  ประเทศ ไปจนถึงบุคคลทั่วไปและคณะบุคคล ผลกระทบของรายการพอดแคสต์การเมืองที่มีต่อผู้ฟังสามารถ

                  ส่งผลกระทบต่อสภาวะการตื่นตัวทางการเมือง การมีส่วนร่วมทางการเมือง และน าไปสู่การเปลี่ยนแปลงของ

                  ผลการเลือกตั้ง โดยมีปัจจัยหลากหลายปัจจัยตั้งแต่ความสามารถในการเข้าถึงพอดแคสต์ เนื้อหาเฉพาะที่
                  พอดแคสต์สามารถน าเสนอโดยที่ไม่มีสื่อประเภทอื่นสามารถน าเสนอได้ และลักษณะเฉพาะในการจัดรายการ

                  ของพอดแคสต์เตอร์ที่สามารถดึงดูดผู้ฟังให้เข้าฟังรายการเป็นประจ า


                  สรุป

                         การสื่อสารทางการเมือง ถือเป็นหนึ่งในจุดก าเนิดของการเรียนการศึกษาทางด้านนิเทศศาสตร์

                  โดยในระยะแรกของการสื่อสารทางการเมืองเป็นการสื่อสารทางการเมืองผ่านรัฐโดยสื่อดั้งเดิมหรือสื่อที่ไม่ได้

                  มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต งานวิจัยในระยะแรก ระบุว่า การสื่อสารมวลชนไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ
                  การตัดสินใจทางการเมืองของผู้รับสาร เป็นเพียงเครื่องมือในการกระตุ้นเตือนความต้องการดั้งเดิมของผู้รับสาร

                  หรือการตอกย้ าสารเพื่อให้ผู้รับสารได้แสดงออกทางการเมือง เช่น การไปเลือกตั้งพรรคการเมืองหรือ

                  นักการเมืองที่ผู้รับสารมีความตั้งใจเดิมในการที่จะไปเลือกตั้ง

                         ประเด็นของสื่อกับความเป็นประชาธิปไตย World Press Freedom Index มีการจัดอันดับเสรีภาพ

                  ในสื่อโดยการเก็บข้อมูลที่ส าคัญประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางด้านเสรีภาพ คือ ความเป็นอิสระของสื่อ

                  กระบวนการเซ็นเซอร์สื่อ ความโปร่งใส กรอบกฎหมาย และการถูกล่วงละเมิดในการใช้ความรุนแรง
                  ผลปรากฏว่าล าดับคะแนนของเสรีภาพสื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สอดคล้องกับคะแนนค่าความเป็น

                  ประชาธิปไตยของรัฐ
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57