Page 19 - 30422_Fulltext
P. 19
| 10
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเนื้อหาของพอดแคสต์ด้านการเมืองภาคภาษาไทยถึงความแตกต่างของสาร
และเป้าประสงค์ของการจัดรายการพอดแคสต์ของผู้จัดรายการผ่านการวิเคราะห์เนื้อหาในสาร
ที่ส่งออกทางพอดแคสต์
2. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเนื้อหาของพอดแคสต์ด้านการเมืองภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
โดยเป็นการเปรียบเทียบระหว่างเนื้อหาของรายการที่ด าเนินรายการโดยสื่อมวลชน นักการเมือง
และนักวิชาการ
3. เพื่อศึกษาถึงกลุ่มผู้ฟังรายการพอดแคสต์ประเภทรายการการเมือง เพื่อวิเคราะห์ในเชิงสถิติ
ถึงภาพรวมของผู้ฟังรายการพอดแคสต์
4. เพื่อศึกษาผลการวิเคราะห์ประสิทธิผลของรายการในการสร้างการรับรู้ด้านการเมืองการปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตย
5. เพื่อศึกษาผลกระทบของสื่อประเภทพอดแคสต์ด้านการเมืองที่มีต่อทัศนคติการมีส่วนร่วมทางการ
เมืองของผู้ฟัง
ค าถามการวิจัย
1. ความส าคัญของพอดแคสต์ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารทางการเมืองคืออะไร มีความแตกต่างอย่างไร
เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อประเภทอื่น ๆ
2. ลักษณะส าคัญของพอดแคสต์ประเภทรายการการเมืองภาคภาษาอังกฤษเป็นอย่างไร และมีความ
คล้ายคลึงหรือแตกต่างอย่างไร ทั้งในแง่ของเนื้อหา วิธีการจัดรายการพอดแคสต์ และกระบวนการ
สืบค้นข้อมูล เปรียบเทียบกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร โดยแบ่ง
การเปรียบเทียบออกเป็นพอดแคสต์ที่จัดท าโดยนักวิชาการ สื่อมวลชน และนักการเมือง
3. ลักษณะส าคัญของพอดแคสต์ประเภทรายการการเมืองภาคภาษาไทยเป็นอย่างไร และในพอดแคสต์
ภาคภาษาไทยที่จัดท าโดยนักวิชาการ สื่อมวลชน และนักการเมือง มีความคล้ายคลึงหรือแตกต่าง
กันอย่างไร ทั้งในแง่ของเนื้อหา วิธีการจัดรายการพอดแคสต์ และกระบวนการสืบค้นข้อมูล
4. ใครคือผู้ฟังรายการพอดแคสต์ และสถิติการฟังพอดแคสต์รายการประเภทการเมืองเป็นอย่างไร
โดยในกรณีของประเทศไทยศึกษาจากกรณีของรายการ Democracy X Innovations
5. ประสิทธิผลของรายการพอดแคสต์ในการสร้างการรับรู้ทางการเมืองด้านการปกครอง
ประชาธิปไตย เป็นอย่างไร และผลกระทบของสื่อประเภทพอดแคสต์ด้านการเมืองที่มีต่อทัศนคติ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของผู้ฟัง เป็นอย่างไร