Page 28 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 28
การประชุมวิชาการ 27
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
อาชญากรรมทางไซเบอร์ (cyber crime) เป็นต้น ซึ่งทั้งเหตุการณ์และปัจจัยเหล่านี้ ก็ล้วนแล้ว
แต่เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความท้าทายต่อความมั่นคงของรัฐ จนส่งผลให้ประเทศที่ปกครอง
ในระบอบประชาธิปไตยหลายแห่งมีการใช้อำนาจรัฐผ่านทางนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ
โดยให้น้ำหนักไปในทางการรักษาความมั่นคงของรัฐมากกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนภายใต้สถานการณ์บางสถานการณ์และบางช่วงเวลา เช่น การยกเว้นหลักนิติ
กระบวนในกรณีที่เกิดการก่อการร้าย การจำกัดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของรัฐ หรือการให้รัฐ
เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน โดยอาศัยเหตุผลเรื่องความมั่นคงของรัฐ เป็นต้น
ทั้งนี้ การปะทะกันของแนวคิดเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการใช้
อำนาจรัฐโดยอาศัยเหตุผลเพื่อความมั่นคงของรัฐได้กลายเป็นประเด็นสำคัญในประเทศที่มี
การปกครองในระบอบประชาธิปไตยหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วย และยังคงเป็น
ประเด็นที่มีการถกเถียงกันอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในห้องย่อยที่ 5 จะเป็นการอภิปรายในประเด็น
ดังกล่าวโดยมุ่งสำรวจว่าปัจจัยต่าง ๆ ทั้งสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ตลอดจนเทคโนโลยี ได้ส่ง
ผลกระทบต่อการนิยามและมุมมองของความมั่นคงของรัฐอย่างไรบ้าง เพื่อค้นหาจุดสมดุล
ระหว่างความมั่นคงของรัฐและการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่สอดคล้องกับ
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ประเด็นสำคัญ
1) พลวัตการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น
กับมุมมองความมั่นคงของรัฐ
2) ความสัมพันธ์ระหว่างมุมมองความมั่นคงของรัฐกับสิทธิเสรีภาพของประชาชน
3) การสร้างความสมดุลระหว่างความมั่นคงของรัฐและสิทธิเสรีภาพของประชาชนใน
ระบอบประชาธิปไตย