Page 25 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 25

2     การประชุมวิชาการ
                สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
              ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

               ศาลรัฐธรรมนูญขึ้นแทนคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และได้กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจ

               หน้าที่หลักคือควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างกฎหมายและกฎหมาย และวินิจฉัย
               การใช้อำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ หากแต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ได้มีคำวินิจฉัยของ
               ศาลรัฐธรรมนูญ (และอาจรวมถึงศาลปกครองด้วยในบางกรณี) ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า
               ใช้อำนาจเกินเลยจากที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ หรือคำวินิจฉัยส่งผลกระทบต่อการกระทำทาง

               รัฐบาลซึ่งเป็นอำนาจเฉพาะในการตรวจสอบถ่วงดุลของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร และ
               ส่งผลให้เกิดข้อเสนอของนักวิชาการไทยมากมายเกี่ยวกับการปรับปรุงเขตอำนาจหรือโครงสร้าง
               องค์กรของศาลรัฐธรรมนูญ

                     อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ประเทศไทย หากแต่เมื่อ

               พิจารณาถึงการใช้อำนาจขององค์กรตุลาการอย่างศาลรัฐธรรมนูญหรือคณะตุลาการ
               รัฐธรรมนูญในต่างประเทศแล้วจะพบว่า หลายประเทศมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไปในทาง
               ที่ให้อำนาจในการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญขององค์กรตุลาการมากขึ้น และใน
               หลายประเทศก็ได้ยอมรับว่า แม้คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญอาจจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย

               (legality) เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติชัดแจ้งว่าศาลมีอำนาจวินิจฉัยดังกล่าว แต่
               การวินิจฉัยนั้น เมื่อพิจารณาจากบริบทแวดล้อมและการให้เหตุผลแล้ว ถือว่าเป็นคำวินิจฉัย
               ที่ชอบธรรม (legitimacy) ซึ่งก่อให้เกิดการท้าทายแนวความคิดเดิมที่ว่าผู้แทนของประชาชน
               หรือเสียงของประชาชนมีความชอบธรรมสูงสุด กลายเป็นองค์กรตุลาการจะมีอำนาจตรวจสอบ

               ในบางกรณี โดยในห้องย่อยนี้ จะอภิปรายร่วมกันหาคำตอบว่า เหตุผลหรือบริบท หรือขอบเขต
               เพียงใดที่ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมแก่ฝ่ายตุลาการในการเข้าไปมีส่วน
               เกี่ยวข้องกับการเมือง และการกำหนดเรื่องอำนาจหน้าที่ขององค์กรตุลาการควรเป็นไปใน
               ทิศทางใด

               ประเด็นสำคัญ


                      1) บทบาทขององค์กรตุลาการและการให้เหตุผลในการตัดสินคดีทางการเมืองใน
                         ต่างประเทศ (เช่น คำวินิจฉัยที่ส่งผลต่อการกระทำทางรัฐบาล หรือ คำวินิจฉัย

                         ที่ส่งผลให้เป็นการเพิกถอนผลการออกเสียงประชามติ หรือคำวินิจฉัยที่มีผลเป็น
                         การเพิกถอนมติของรัฐสภา เป็นต้น) และผลกระทบต่อองค์กรตุลาการและภูมิทัศน์
                         ของประชาธิปไตยในประเทศเหล่านั้นเมื่อมีคำวินิจฉัยดังกล่าว

                      2) บริบทที่ก่อให้เกิดความชอบธรรมต่อองค์กรตุลาการในการวินิจฉัยคดีทางการเมือง

                         (ทั้งในแง่ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ บริบทของเหตุการณ์และการเมือง และ
                         ที่มาขององค์กรตุลาการ ฯลฯ) ตลอดจนเงื่อนไขที่ทำให้คำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วย
                         กฎหมายเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบธรรม (legality vs. legitimacy)

                      3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับโครงสร้าง อำนาจหน้าที่ และการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ

                         (และ/หรือศาลปกครอง) ในประเทศไทย
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30