Page 26 - เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 23
P. 26

การประชุมวิชาการ   2
                                                                                   สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
                                                                                       ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่

                  กลุ่มย่อยที่ 4

                  การบริหารภาครัฐบนความท้าทายของภาวะวิกฤต


                       ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
                  ต่างต้องเผชิญกับบททดสอบมากมายจากความผันผวนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง
                  รวมทั้งการเข้ามามีบทบาทของเทคโนโลยีดิจิทัลในโลกยุคปัจจุบัน จนเกิดภูมิทัศน์ใหม่ ๆ ขึ้น

                  มากมาย ทำให้เกิดคำถามและการเรียกร้องต่อการบริหารจัดการภาครัฐมาโดยตลอดถึง
                  การปรับตัวและความมีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องของความมั่นคงในมิติใหม่ การจัดการภัยพิบัติ
                  ที่นับวันจะมีความหลากหลายและมีโจทย์ใหม่ที่ท้าทายการบริหารงานภาครัฐมากขึ้นอย่าง
                  ต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต สภาวการณ์ดังกล่าวได้ถูกตอกย้ำให้ชัดขึ้น

                  จากสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ที่มีการระบาดในวงกว้าง
                  นับตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ที่สะท้อนถึงความอ่อนแอของระบบกลไกภาครัฐ
                  ในการบริหารจัดการ สิ่งที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาปีเศษของสถานการณ์การแพร่ระบาด
                  ดังกรณีตัวอย่างของประเทศไทยที่เห็นได้ว่าประชาชนขาดความเชื่อมั่นอย่างมากต่อภาครัฐ

                  ทั้งในการบริหารสถานการณ์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดและการบริหารจัดการวัคซีน
                  ให้ประชาชนอย่างรวดเร็วและทั่วถึง ซึ่งเกิดจากทั้งในแง่ของระเบียบกฎหมายที่ไม่ยืดหยุ่น
                  และระบบกลไกภาครัฐที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้ตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อการจัดการ
                  ภาวะวิกฤตเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีการปกครองในรูปแบบอื่น จึงเกิดการตั้งคำถามว่า

                  ประเทศเหล่านั้นสามารถจัดการกับสถานการณ์ในภาวะวิกฤตได้ดีกว่าหรือไม่ ตลอดจน
                  หลายภาคส่วนในสังคมมีความพยายามที่จะเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการจัดการกับ
                  ภาวะวิกฤตมากขึ้น ดังนั้น

                       ในกลุ่มย่อยนี้จึงมุ่งอภิปรายถึงประเด็นท้าทายต่าง ๆ ที่นำไปสู่การออกแบบกลไก

                  การบริหารงานภาครัฐอย่างไรให้มีความเป็นมืออาชีพ เพื่อตอบสนองภาวะวิกฤตต่าง ๆ
                  ในอนาคต รวมทั้งแนวทางการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ภาคเอกชน และ
                  ภาคประชาสังคม และ ประชาชนในการบริหารจัดการภาครัฐที่เหมาะสมในภูมิทัศน์ใหม่

                  บนความท้าทายของภาวะวิกฤต
                  ประเด็นสำคัญ


                        1) การออกแบบที่ยิ่งใหญ่ (grand design) ของระบบและกลไกการบริหารงานภาครัฐ
                           ภายใต้สภาวะ disruption จากเทคโนโลยี การบริหารจัดการด้านเศรษฐกิจ การจัดการ

                           ด้านความหลากหลายของอัตลักษณ์ การจัดการโรคระบาด และการจัดการในภาวะ
                           วิกฤตต่าง ๆ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะผันผวนมากจนไม่อาจจะวางแผนได้
                           ควรเป็นอย่างไร
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31