Page 104 - kpi9942
P. 104
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง จ.เชียงใหม่
3.5 การทำงานลักษณะเครือข่ายความร่วมมือ
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก ที่มีงบประมาณ
และทรัพยากรมนุษย์จำกัด แต่มีภารกิจหน้าที่จำนวนมากตามกฎหมายจัดตั้งของตนเองและตาม
กฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ ที่ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลต้อง
จัดทำหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน วิธีการอันหนึ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รวมทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางดำเนินการ ก็คือการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับส่วน
ราชการและ/หรือองค์กรภาคประชาชน ซึ่งเป็นที่ปรากฏอยู่ในโครงการหรือกิจกรรมที่เป็นเลิศ
(Best Practice) ทุกโครงการทุกกิจกรรมว่า ส่วนหนึ่งที่โครงการหรือกิจกรรมสามารถประสบ
ความสำเร็จได้เพราะความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากหน่วยงานอื่นๆ กล่าวคือ
1) ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับ
ความช่วยเหลือทางวิชาการจากศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล
บ้านกลาง สำนักงานเกษตรอำเภอสันป่าตอง รวมทั้งความร่วมมือกับกลุ่มแม่บ้าน
เกษตรในแต่ละหมู่บ้าน เพื่อจัดทำสินค้าการเกษตรแปรรูปโดยใช้มาตรฐาน GMP
2) โรงงานผลิตน้ำดื่มเพื่อชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับความร่วมมือจากสถานี
อนามัยตำบลบ้านกลางในการช่วยตรวจคุณภาพของน้ำดื่มเป็นประจำทุกเดือน
นอกจากนี้ เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการบริหารโรงงานนั้น ก็มาจากกองทุนซึ่งเป็นการ
ระดมทุนจากการซื้อหุ้นของประชาชนในแต่ละหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีคณะ
กรรมการโรงงานฯ เป็นผู้ดำเนินงานหลัก ซึ่งเหล่านี้มีลักษณะของการดำเนินงานแบบ
วิสาหกิจชุมชน (Community-Based Enterprise)
3) การอนุรักษ์และการส่งเสริมการท่องเที่ยวโบราณสถานเวียงท่ากาน องค์การบริหาร
ส่วนตำบลได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการและงบประมาณจากสำนักศิลปากรที่ 8
เชียงใหม่ รวมทั้งการดำเนินการโดยภาคประชาชน คือ อ.ส.ม.ส.เวียงท่ากาน ซึ่งเป็น
จักรกลหลักในการดำเนินการ
4) โครงการโรงเรียนฤดูร้อน องค์การบริหารส่วนตำบลได้รับความอนุเคราะห์ด้านสถาน
ที่จากโรงเรียนวัดท่ากาน สำนักเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ ในด้านสถานที่
สำหรับจัดโครงการ
ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50