Page 106 - kpi9942
P. 106

องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง       จ.เชียงใหม่



                    การทำงานขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง ไม่ได้มุ่งเน้นแต่การพัฒนาด้าน
              โครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณูปโภคหรือสาธารณูปการเท่านั้น แต่ผู้บริหารองค์การบริหารส่วน
              ตำบลยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขตองค์การบริหาร
              ส่วนตำบลด้วย จึงทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางได้ดำเนินโครงการต่างๆ ภายใต้ความ
              ร่วมมือเป็นอย่างดีจากประชาชน เช่น


                    โรงงานผลิตน้ำดื่มเพื่อชุมชน ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนในลักษณะของโครงการที่ดำเนินการ
              โดยภาคประชาชนคือ คณะกรรมการโรงงานน้ำดื่มเพื่อชุมชน (3 หมู่บ้าน) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
              ให้ประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลมีน้ำดื่มน้ำใช้ สำหรับการอุปโภคและบริโภคที่สะอาด
              และปลอดภัย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลจัดสรรงบประมาณในการจัดอบรมเจ้าหน้าที่ของ
              โรงงานและลงทุนในการจัดหาเครื่องจักรและเครื่องมือที่ทันสมัยสำหรับการดำเนินงาน

                    โครงการการอนุรักษ์และการส่งเสริมการท่องเที่ยวโบราณสถานเวียงท่ากาน ตั้งอยู่ที่หมู่ 5

              บ้านท่ากาน เป็นเมืองโบราณที่สันนิษฐานว่า น่าจะเป็นชุมชนโบราณมาตั้งแต่ครั้งสมัยหริภุญไชย
              จนกระทั่งสมัยล้านนา (ประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 ถึง พุทธศตวรรษที่  21-22) โดยมีหลักฐาน
              ทางโบราณคดีประเภทโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์ดินเผา พระพุทธรูปดินเผา ฯลฯ เป็นต้น โดย
              โบราณสถานแห่งนี้เป็นการดูแลร่วมกันระหว่างสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กรมศิลปากร (เพราะ
              ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้ว) กับองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลาง โดยมีกลุ่มประชาชน

              ที่สำคัญคือ กลุ่มอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม (อส.มศ.)
              เวียงท่ากานเป็นพลังมวลชนที่มีบทบาทสำคัญต่อการอนุรักษ์และดูแลโบราณสถานเวียงท่ากาน

                    โครงการโรงเรียนภาคฤดูร้อน ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกลางได้ใช้งบประมาณของ
              ตนเองในการดำเนินกิจกรรมด้านการเรียนการสอนภาควิชาการ ด้านการสืบสานศิลปวัฒนธรรม
              และภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมทั้งด้านการส่งเสริมการเล่นกีฬาของเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ เด็กและ

              เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษา โดยในภาค
              วิชาการ ได้จัดให้มีการสอนเสริมในรายวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ระดับประถม
              ศึกษาและมัธยมศึกษา ส่วนภาคศิลปวัฒนธรรมนั้น ได้มีการจัดการสอนการเล่นเครื่องดนตรี
              พื้นบ้านภาคเหนือ เช่น สะล้อ ซึง และปี่จุม ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะเป็นการสร้างความ
              เพลิดเพลินให้แก่ผู้เล่นแล้ว การเรียนการสอนเครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือยังเป็นการสืบทอด
              ศิลปะและวัฒนธรรมของล้านนา ซึ่งนับวันจะสูญสลายหายไป สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ในการสอนเล่น


                                                                               101
                                                    ถอดรหัส รางวัลพระปกเกล้า ’ 50
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111