Page 36 - kpi8470
P. 36
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
0
อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาตามสถิติแล้ว จำนวนของสหการได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี พ.ศ.
2517 ซึ่งมีจำนวน 3,039 แห่ง ในปี พ.ศ. 2541 กลับมีจำนวน 2,770 แห่ง โดยสาเหตุ
ดังกล่าวเป็นผลมาจากลักษณะการดำเนินงานของสหการเอง กล่าวคือ มีการเน้นทางด้าน
เทคนิคมากเกินไป ทำให้เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องไม่อาจตรวจ
สอบได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ การลดจำนวนดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากมาตรการการยุบรวม
เทศบาลที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีการยุบรวมกันระหว่างเทศบาลแล้ว องค์กร
ความร่วมมือดังกล่าวจะหมดสภาพไป
ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาการลดจำนวนลงของสหการ กระทรวงกิจการภายใน การ
9
ปกครองตนเอง และไปรษณีย์ จึงได้เสนอรูปแบบใหม่ของความร่วมมือซึ่งมีความยืดหยุ่น
ขึ้น และให้ประชาชนสามารถเข้ามาตรวจสอบได้มากขึ้น โดยมีชื่อเรียกเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า
“โควอิกิเรงโคว” ซึ่งกระทรวงกิจการภายในฯ เห็นว่าจะเป็นองค์กรความร่วมมือที่สามารถ
10
ดำเนินงานให้บริการสาธารณะได้สอดคล้องกับแนวทางการกระจายอำนาจที่กำลังดำเนินอยู่ใน
ญี่ปุ่นขณะนี้
ลักษณะการบริหารงานของสหการในประเทศญี่ปุ่นโดยทั่วไปนั้น ก็มีลักษณะที่
คล้ายคลึงกับองค์กรความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศอื่น
ทุกประการ กล่าวคือ มีการบริหารงานโดยใช้รูปแบบคณะกรรมการซึ่งอาจมาจากการเลือกตั้ง
ทางตรงหรือการแต่งตั้งก็ได้ นอกเหนือจากการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารขึ้นมาดูแลบริหาร
งานของสหการแล้ว ยังมีการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งสภา (แล้วแต่กรณี) เพื่อทำหน้าที่ในการ
ตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการบริหารอีกด้วย
9 กระทรวงหนึ่งในประเทศญี่ปุ่นที่มีหน้าที่ดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คล้ายคลึง
กับ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ของประเทศไทย
10 เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ในที่นี้ผู้เขียนจึงขอเรียกว่า “สหการ” ตามความหมายที่ใช้
และเป็นที่รู้จักในประเทศไทย
สถาบันพระปกเกล้า