Page 35 - kpi8470
P. 35
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
2
สิ่งแวดล้อม รับผิดชอบนโยบายด้านที่พักอาศัย ดูแลรักษาและก่อสร้างทาง รวมทั้งก่อสร้าง
และดูแลรักษาสนามกีฬา สถานศึกษา ซึ่งอำนาจดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเป็นการให้อำนาจอย่าง
กว้างขวางแก่ประชาคมเทศบาลที่จะมีอิสระในการดำเนินการจัดทำบริการสาธารณะได้หลาย
ประเภท ส่วนรายได้ของประชาคมของเทศบาลนั้นมาจากภาษีประกอบวิชาชีพของประชากร
ในเขตเทศบาลทุกแห่งที่รวมกันเป็นประชาคมของเทศบาล
4.2 ประเทศญี่ปุ่น
การบริหารราชการของประเทศญี่ปุ่นแตกต่างจากประเทศไทยและฝรั่งเศส กล่าวคือ
มีโครงสร้างแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ทั้งนี้
กล่าวเฉพาะในส่วนของการจัดระเบียบการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้น แบ่งออกเป็น 2 ชั้น
(two-tier system) ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด (To Do Fu Ken) จำนวน 47
แห่ง และเทศบาล (Shi Cho Son) จำนวน 3,223 แห่ง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
7
แห่งใดที่มีระดับความเจริญและมีจำนวนประชากรตามที่กำหนดไว้ เช่น หากเทศบาลนครมี
ประชากรมากกว่า 500,000 คน ขึ้นไป ให้มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็น Designated
Cities หรือ กรณีที่มีประชากรเกินกว่า 300,000 คน และมีพื้นที่มากกว่า 100 ตาราง-
กิโลเมตร จะมีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้เป็น Core Cities และการจัดตั้งเขตขึ้นในเมือง
ใหญ่ เช่น ในมหานครโตเกียว เป็นต้น
การจัดองค์กรความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ได้มีการกำหนด
ให้มีขึ้นครั้งแรกในสมัยเมจิ 21 ตามระเบียบว่าด้วยเทศบาล มาตรา 6 ซึ่งใช้สืบเนื่องมาจนถึง
8
ปัจจุบันที่รู้จักในนามของ “อิจิบุจิมุคุมิอะอิ” หรือ “สหการ” ในความหมายของไทย ภายหลัง
สงครามโลกครั้งที่สองได้มีการตราเป็นกฎหมายว่าด้วยการปกครองตนเอง (Local
Autonomous Law 1947) เพื่อวางระเบียบที่เกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมด
ในทุกรูปแบบ ซึ่งรวมถึงองค์กรความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วย
7 ข้อมูลปี พ.ศ. 2545
8 ในที่นี้จะขอเรียกว่า “สหการ” ตามความหมายของไทย
สถาบันพระปกเกล้า