Page 11 - kpi8470
P. 11
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
รูปแบบที่สาม เป็นรูปแบบการจัดบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบ
ให้ชุมชน ประชาคม หรือกลุ่มที่ไม่แสวงหากำไรเป็นผู้ดูแลและจัดบริการสาธารณะที่สามารถ
ดำเนินการเองได้ภายในชุมชนของตน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนงบประมาณ
ให้กับชุมชนชนและมอบให้ชุมชนเป็นผู้จัดสรรและดำเนินการเอง ยกตัวอย่างเช่น อบต. เขา
สามยอด จ.ลพบุรี มอบหมายให้ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการเปลี่ยนหลอดไฟและซ่อมท่อน้ำ
ประปาของชุมชนเอง หรือบางแห่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่าจ้างประชาชนในชุมชนเป็นผู้
เก็บเงินค่าเก็บขยะภายในชุมชนของตน หรือรับเหมางานง่ายๆ ภายในชุมชน เหตุผลประการ
หนึ่งที่ให้ชุมชนเข้าร่วมการจัดบริการสาธารณะเช่นนี้ก็เพื่อความรวดเร็วในการบริหารจัดการ
ปัจจุบันเราจะพบเห็นรูปแบบการดำเนินงานในลักษณะเป็นจำนวนมากในเทศบาลขนาดใหญ่
จากทั้งสามรูปแบบในการจัดบริการสาธารณะนั้น อาจกล่าวได้ว่ารูปแบบการจัด
บริการสาธารณะที่พึงปราถนาให้บังเกิดขึ้นในสังคมไทยก็คือรูปแบบที่องค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นร่วมกันในการจัดบริการสาธารณะ เหตุที่ต้องกล่าวถึงการดำเนินงานในรูปแบบนี้
เพราะโครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยกว่าร้อยละ 90 เป็นองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็ก ประกอบกับการจัดบริการสาธารณะบางอย่างต้องการ
ความรู้ความสามารถทางด้านเทคนิค และใช้งบประมาณในการลงทุนสูง ด้วยเหตุเช่นนี้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กจำนวนมากต้องประสบกับปัญหาในการจัดบริการ
สาธารณะ โดยไม่อาจกระทำได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุม และได้มาตรฐาน
ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จะเห็นได้องค์กรความร่วมมือนี้มีประโยชน์กับการทำงานของ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ในการทำงานจริงก็อาจพบกับปัญหาในการดำเนินงานหลาย
ประการ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจเสียอำนาจในการบริหารจัดการให้กับองค์กรนี้
เนื่องด้วยองค์กรนี้จะมีคณะบริหาร นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะเป็นเพียงผู้กำหนด
นโยบายเท่านั้น หรือในส่วนของทรัพย์สินที่เกิดขึ้นในการตั้งองค์กรใหม่ หรือความไม่ชัดเจน
ของการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือ ซึ่งรูปแบบที่มีในปัจจุบันเป็นรูปแบบที่ไม่เป็นทางการจะ
ทำให้องค์กรความร่วมมือไม่มีความยั่งยืน และในการจัดตั้งองค์กรความร่วมมือระหว่าง
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น มิได้มีเจตนารมณ์ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำความ
สถาบันพระปกเกล้า