Page 10 - kpi8470
P. 10
ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รูปแบบและความเป็นไปได้
ในยุคก่อนการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ต้องยอมรับ
ว่าเป็นเพียงหน้าที่เสริม และตั้งแต่มีพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจาย
อำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 รวมถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร
ไทย พุทธศักราช 2550 ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่หลักในการจัดบริการ
สาธารณะ รวมถึงภารกิจอื่นๆที่ได้รับถ่ายโอน และภารกิจที่เป็นปัญหาความต้องการของ
ประชาชน ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำต้องปรับรูปแบบและวิธีคิดเดิมที่ให้องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละแห่งก็มีหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะโดยใช้บุคลากร เครื่องมือ
และงบประมาณของหน่วยงานตนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะจากเหตุข้างต้นองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นมีภารกิจและหน้าที่ที่มากขึ้น ซึ่งภารกิจบางประการจำเป็นต้องใช้ที่มี
งบประมาณในการดำเนินงานสูง อีกทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ
ที่มีทั้งความยาก ซับซ้อน ซึ่งต้องการความรู้ทางวิชาการที่เกินกว่าความสามารถของบุคลากร
ท้องถิ่นจะแก้ปัญหาเองได้ และบางปัญหาที่มีความเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ที่ไม่สามารถแก้
ปัญหาได้ด้วยองค์กรเดียว หากแต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน ฉะนั้น
แนวคิดที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการจัดบริการสาธารณะและปัญหาด้วย
องค์กรเองอาจทำให้พบกับข้อจำกัดในการดำเนินงานมากขึ้น จึงอาจกล่าวได้ว่าในการ
จัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้อง
สร้างทางเลือกในการบริหารจัดการ ซึ่งในทางวิชาการได้กล่าวว่าถึงรูปแบบของการจัดบริการ
สาธารณะนั้นมิใช่ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องดำเนินการด้วยตนเองเท่านั้น แต่สามารถ
ดำเนินการได้อีกหลายรูปแบบ ดังนี้
รูปแบบที่หนึ่ง เป็นรูปแบบการจัดบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วม
กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง หรือร่วมกับหน่วยราชการอื่นดำเนินการจัดบริการ
สาธารณะร่วมกัน
รูปแบบที่สอง เป็นรูปแบบการจัดบริการสาธารณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่า
จ้างให้บริษัทเอกชนที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเป็นผู้ดำเนินการแทน เช่น การจัดทำ
สัมปทาน การรับจ้างดำเนินการด้านต่างๆ หรือการให้เอกชนเช่าสถานที่ของหน่วยราชการและ
เป็นผู้บริหารจัดการแทน หรือการว่าจ้างบริษัทเอกชนเก็บขนขยะ เป็นต้น
สถาบันพระปกเกล้า