Page 247 - 22825_Fulltext
P. 247

6-4







                       ตัวชี้วัดด้านเดิมไว้ โดยเพิ่มเติมจำนวนตัวชี้วัดรวมเป็น 34 ตัวชี้วัด มากกว่าเดิม 6 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย
                       จำนวนเด็กหลุดจากระบบการศึกษา สัดส่วนแพทย์ต่อประชากร สัดส่วนงบประมาณที่ใช้ในการพัฒนา

                       กับการจัดซื้ออาวุธคดีที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด รวมถึงสถิติจำนวนคดีที่ถูกยกฟ้องในสามจังหวัด
                       ชายแดนภาคใต้ และจำนวนคดีและการบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 112

                               แนวทางในการจัดทำดัชนีระดับประเทศ ได้ยึดแนวทางของ OECD (2008) และ Ebert

                       and Welsh (2004) ที่เสนอว่า การสร้างดัชนีนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของดัชนีแต่ละ
                       ว่ามีความหมายอย่างไร การจะนำข้อมูลทั้งหมดมารวมกันแล้วคำนวณค่าดัชนีในภาพรวมไม่ใช่

                       แนวทางที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ (Adding up apples and oranges) โดยเฉพาะกรณีที่ดัชนีรวม
                       เกิดการผลรวมของดัชนีย่อยซึ่งมีที่มาต่างกัน  ด้วยเหตุนี้ OECD (2008) และ Ebert and Welsh

                       (2004) จึงเสนอว่า การจัดทำดัชนีควรประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอนที่สำคัญ ขั้นที่ 1 คือ การปรับค่า

                       ข้อมูลให้สามารถแบ่งระดับได้  ขั้นที่ 2 คือ การจัดกลุ่มของข้อมูลด้วยเครื่องมือทางสถิติที่เหมาะสม
                       (Data grouping and dimension reduction) ขั้นที่ 3 คือ คำนวณดัชนีด้วยการปรับข้อมูลให้เป็นค่า

                       กลาง (Normalization) ขั้นที่ 4 คือ การคำนวณดัชนีในภาพรวม ซึ่งรายงานหลายฉบับได้ยึดตาม

                       ขั้นตอนนี้ เช่น Human Development Report  PISA และ World Competitiveness Report
                       เป็นต้น ในการศึกษาครั้งนี้ จะใช้แนวทางตามที่ OECD (2008) และ Ebert and Welsh (2004) โดย

                       แบ่งเป็น 3 แนวทางด้วยกัน แนวทางที่ 1 การปรับค่าข้อมูลให้สามารถแบ่งระดับได้ แนวทางที่ 2

                       การจัดกลุ่มของข้อมูลด้วยเครื่องมือทางสถิติที่เหมาะสม แนวทางที่ 3  คำนวณดัชนีด้วยการปรับ
                       ข้อมูลให้เป็นค่ากลาง สำหรับข้อมูลทุติยภูมิจะใช้การปรับค่าข้อมูลเพื่อให้ไม่มีหน่วย (Unit-Free) โดย

                       การใช้ค่า Z-Score รวมถึงปรับข้อมูลให้เป็นค่ากลาง (Normalization) จากนั้นจัดกลุ่มของข้อมูลโดย

                       วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Principal Component Analysis: PCA)
                               แนวทางในการจัดทำดัชนีในระดับจังหวัดจะต้องมีการวิเคราะห์เพิ่มเติม เนื่องจากข้อมูล

                       ระดับจังหวัดที่จะไม่มีความต่อเนื่อง เปรียบเสมือนภาพต่อที่ไม่สมบูรณ์ การนำข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่องมา

                       กำหนดช่วงคะแนนจะทำให้ผลที่ได้มีความคลาดเคลื่อน ด้วยเหตุนี้ ก่อนการทำดัชนี จึงต้องมี
                       การประมาณค่าการกระจายตัวใหม่ (Probability Density Function: PDF) โดยใช้ข้อมูลระดับ

                       จังหวัดมาเป็นฐานในการประมาณค่าเพื่อให้ได้ภาพการกระจายตัวที่สมบูรณ์  แล้วจึงนำค่าที่ได้จาก

                       การประมาณการประจายตัวดังกล่าวมากำหนดเกณฑ์ในการเลือกระดับคะแนนของดัชนี โดยวิธีการ
                       ประมาณค่าที่จะใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ Singh-Maddala Distribution คงคุณสมบัติของตัวแปรสุ่ม

                       จากนั้นผลที่ได้มาสร้างเป็นดัชนีประกอบ (Composite Index) ในแต่ละด้านให้ครบทั้ง 4 ด้าน

                              แหล่งข้อมูลมีทั้งข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของหน่วยงานและเป็นข้อมูลระดับจังหวัด
                       หรือข้อมูลระดับประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ข้อมูลด้านความรุนแรงทางกายภาพและการยอมรับ

                       ความหลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิมนุษยชน จะมีข้อมูลจากการสำรวจเป็น
   242   243   244   245   246   247   248   249   250   251   252