Page 245 - 22825_Fulltext
P. 245

6-2







                       รุนแรงทางกายภาพที่ปรากฏอย่างชัดเจน และมีระบบกลไกที่ทำให้สังคมมีความสงบสุข
                       มีสันติภาพอย่างยั่งยืน สำหรับความแตกต่างของงานวิจัยด้านสันติภาพของสากลเน้น

                       เปรียบเทียบการวัดสันติสุขในระดับโลกเป็นการเปรียบเทียบสันติภาพของประเทศต่าง ๆ

                       ในขณะที่การวัดระดับสันติภาพของสังคมไทยในงานวิจัยนี้คือ TPI เป็นการวัดสันติภาพของ
                       ประเทศไทยเป็นหลัก และวัดระดับที่ลึกลงสู่จังหวัดต่าง ๆ เพื่อเปรียบเทียบกัน การที่จะวัด

                       ระดับสันติภาพในสังคมไทย จึงใช้ตัวชี้วัดที่ผสมผสานที่คำนึงถึงบริบทของสากลและของ

                       ประเทศไทย
                              รายงานวิจัยใน ปี พ.ศ. 2565 มีการทบทวนวรรณกรรม เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและ

                       งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับดัชนีชี้วัดด้านสันติภาพ ทั้งเอกสารภาษาไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมา
                       ประกอบการจัดทำกรอบแนวคิดขององค์ประกอบของสันติภาพ วรรณกรรมที่ได้ศึกษาจาก

                       หลายแหล่งข้อมูลที่บูรณาการกันในการวัดระดับ อย่างไรก็ตาม งานสากลที่ใช้เป็นกรอบแนวคิดหลัก
                       คือ GPI และ PPI ของ สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ รายงาน GPI วัดที่ความรุนแรงทางกายภาพ

                       หรือความหวาดกลัวต่อความรุนแรง ส่วนรายงาน PPI วัดที่ทัศนคติ โครงสร้างและสถาบันที่จะนำไปสู่

                       สังคมที่มีสันติสุขอย่างยั่งยืน รายงาน PPI มีการกล่าวถึงสังคมและเศรษฐกิจในหลายมิติ โดยพยายาม
                       แสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ การวัดสันติภาพในโลกว่าหากประเทศใดมีคะแนน PPI ในระดับดี จะทำ

                       ให้ประเทศนั้นสามารถฟื้นคืนจากสภาวะที่ได้รับผลกระทบที่ไม่ได้คาดหมายไว้ล่วงหน้า (Shocks) เช่น
                       สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เศรษฐกิจ ภัยพิบัติ ยกตัวอย่าง ประเทศ นอร์เวย์ ฟินแลนด์

                       สวิสเซอร์แลนด์ ในทางกลับกันประเทศที่ได้คะแนน PPI ไม่ดีเมื่อประเทศเกิดปัญหาจะฟื้นคืนมาสู่

                       สภาวะปกติได้ยากเมื่อเจอปัจจัยต่าง ๆ เข้ามากระทบ เห็นได้จากประเทศตะวันออกกลางและ
                       แอฟริกาเหนือที่ได้คะแนน PPI น้อยที่สุด เช่น โซมาเลีย เยเมนและ เซาท์ซูดาน

                              นอกจาก IEP จะทำรายงานข้อมูล GPI และ PPI แล้ว IEP ยังได้จัดทำรายงานเพื่อตอบโจทย์
                       สถานการณ์ร่วมสมัยคือโรคระบาด Covid-19 เชื่อมโยงกับสันติภาพ โดยมีสาระสำคัญคือ Covid-19

                       ทำให้งบประมาณทางการทหารน้อยลง เนื่องจากประเทศต่าง ๆ ใช้งบประมาณไปในด้านเศรษฐกิจ

                       มากขึ้น ประเทศที่พึ่งพิงต่างประเทศสูงจะประสบความลำบากจากการถูกลดเงินช่วยเหลือ เช่น
                       อัฟกานิสถาน บูรุนดี เซาท์ซูดาน นอกจากนี้ประเทศที่มีเครดิตไม่ดีก็จะไม่สามาถยืมเงินมาฟื้นฟู

                       เศรษฐกิจได้ หลายประเทศจะไม่สามารถจ่ายหนี้ที่ยืมไปได้ ความไม่เท่าเทียมเหลื่อมล้ำจะสูงขึ้น
                       ในด้านสุขภาพจากการขาดงบประมาณในการสนับสนุนด้านการรักษาโรคระบาด Covid-19

                       หลายประเทศอาจปิดพรมแดนเพื่อแก้ไขปัญหาโรคระบาด เช่น เวเนซูเอลากับประเทศเพื่อนบ้าน
                       อีกทั้งการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการรักษาสันติภาพในโลกก็จะลดลง นอกจากนี้ สภาวะ

                       การขาดแคลนอาหารจะเกิดขึ้นกับประชากรนับร้อยล้านคนจากประเทศมากกว่า 53 ประเทศ
   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249   250