Page 246 - 22825_Fulltext
P. 246
6-3
ยังมีปัญหานักโทษในเรือนจำอาจจะแหกคุกหนีออกจากเรือนจำมากขึ้น และอาชญากรรม
ภายในประเทศจะสูงขึ้น
งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์เพิ่มเติมถึงภัยคุกคามทางนิเวศวิทยา เนื่องจากส่งผลอย่างรุนแรงต่อ
ศักยภาพในการพัฒนาของมนุษย์ จากรายงาน ดัชนีภัยคุกคามทางนิเวศวิทยา 2564 (ECOLOGICAL
THREAT REPORT 2564) โดย Institute for Economics and Peace – IEP) ซึ่งจัดอันดับภัย
คุกคามทางนิเวศวิทยาของ 163 ประเทศและเขตแดนทั่วโลกในแต่ละปี ถือเป็นอีกหนึ่งแหล่งข้อมูล
ที่ช่วยฉายภาพให้เราเข้าใจและเห็นประเด็นภัยคุกคามทางระบบนิเวศ โดยการประเมินหรือวัดภัย
คุกคาม 5 ประการ ได้แก่ การเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว ความเสี่ยงจากน้ำ ความเสี่ยง
ด้านอาหาร ความผิดปกติของอุณหภูมิ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ จากรายงานพบว่าหนึ่งในสี่ของ
ประเทศใน ETR ถูกระบุว่ากำลังเผชิญอยู่ภัยคุกคามทางนิเวศสูงถึงขั้นรุนแรง ประเทศไทยได้คะแนน
3.0 จาก คะแนนเต็ม 5 ระดับปานกลาง ได้อันดับ 88 จาก 178 ประเทศ ประเทศไทยได้คะแนนไม่ดี
ในด้าน ภัยพิบัติที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต (เฉลี่ยจากปี 2000-2018) และความเสี่ยงจากน้ำ น้ำมากหรือ
น้อยเกินไปในการอุปโภคและบริโภค ส่วนตัวชี้วัด การเติบโตของประชากรอย่างรวดเร็ว ความเสี่ยง
ด้านอาหาร และความผิดปกติของอุณหภูมิ ประเทศไทยได้คะแนนดี ในประเด็นน้ำสอดคล้องกับ
แนวโน้มของประเทศไทยในด้านปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 10 ปี ลดลง และมีการใช้น้ำเพื่อการเกษตรมาก
ที่สุด สำหรับประเด็นที่ IEP ให้ความห่วงใยคือ ในปี 2593 จะมีจำนวนประชาชนที่ขาดแคลน
ด้านอาหารถึง ถึง 1.1 พันล้าน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 45 ประเทศไทยไม่น่าห่วงในเรื่องดังกล่าว สิ่งที่
ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญคือ ภัยพิบัติที่ทำให้เกิดการเสียชีวิต และความเสี่ยงจากน้ำ
การทบทวนวรรณกรรมในการศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมถึงรายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
SDGs โดยองค์การสหประชาชาติที่อาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ของ
เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกัน ประกอบไปด้วย 17 เป้าหมาย โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง เป้าหมายที่ 16 ส่งเสริมให้สังคมมีความเป็นปกติสุข ไม่แบ่งแยก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
มีการเข้าถึงความยุติธรรมโดยถ้วนหน้า และสร้างให้เกิดสถาบันอันเป็นที่พึ่งของส่วนรวม
มีประสิทธิผล และเป็นที่ยอมรับในทุกระดับ เป็นการส่งเสริมสังคมที่สงบสุขและครอบคลุมเพื่อ
การพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ทุกคนเข้าถึงความยุติธรรมและสร้างสถาบันที่มีประสิทธิผลรับผิดชอบและ
ครอบคลุมในทุกระดับ SDGs 16 มีแนวคิดและตัวชี้วัดหลายด้านที่สอดคล้องกับงานวิจัยนี้ เช่น
การลดความรุนแรง จำนวนเหยื่อจากการถูกฆาตกรรม จำนวนของเหยื่อการค้ามนุษย์ ผู้ถูกกักขังที่
ไม่ถูกพิพากษาลงโทษ (Unsentenced detainee) และสัดส่วนของประชากรในเรือนจำ จึงได้นำเข้า
มาบูรณาการไว้ในงานวิจัยทั้งในระดับแนวคิด ทฤษฎีและตัวชี้วัด ในปีนี้รายงานวิจัย TPI ยังคงยึดกรอบ