Page 244 - 22825_Fulltext
P. 244

6-1







                                                             บทที่ 6
                                         สรุปผลการศึกษาดัชนีสันติภาพของประเทศไทย



                       6.1 ภาพรวมของการวิจัย

                              จากการสำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับดัชนีและตัวชี้วัดด้านสันติภาพทั้งในประเทศและ

                       ต่างประเทศทำให้ทราบว่า นิยามสันติภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลตั้งอยู่บนหลักการของการ
                       ไม่มีสันติภาพเชิงลบและมีสันติภาพเชิงบวก กล่าวคือไม่มีความรุนแรงทางกายภาพที่ปรากฏ

                       อย่างชัดเจน มีระบบ กลไกที่ทำให้สังคมมีความสงบสุข และมีสันติภาพอย่างยั่งยืน นอกจาก
                       ความหมายสันติภาพดังกล่าวแล้ว การศึกษาสันติภาพในมิติภายใน คือ การเข้าใจตนเองมีความสำคัญ

                       และการทำให้จิตใจของตนเองมีเมตตา กรุณา การเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ จากนิยามสันติภาพ
                       ของสากลดังกล่าวนำมาสู่การประยุกต์แนวคิดให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย โดยงานวิจัยเรื่องนี้

                       ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้คือ

                               1. พัฒนาดัชนีและตัวชี้วัด ด้านสันติภาพที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย
                               2. วัดระดับสันติภาพในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการสร้างสันติภาพให้เกิดขึ้น

                               3.นำผลของงานวิจัยมาแลกเปลี่ยนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อทำให้เกิดการขับเคลื่อนงาน

                       ด้านสันติภาพ
                               รายงานวิจัยเรื่องนี้ ดำเนินการจัดทำในระยะที่ 3 ปี พ.ศ. 2565 ซึ่งที่ผ่านมาได้

                       ดำเนินการจัดทำในระยะที่ 1 ปี พ.ศ. 2561 และระยะที่ 2 ปี พ.ศ.2563  มาเป็นที่เรียบร้อย

                       แล้ว การดำเนินการวิจัยในปี พ.ศ.2565 (เก็บข้อมูลปี 2564) ได้มีการทบทวนวรรณกรรม
                       สำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับดัชนีและตัวชี้วัดด้านสันติภาพเพิ่มเติมทั้งส่วนของแนวคิด ทฤษฎีที่

                       เกี่ยวข้องกับสันติภาพ/สันติสุข และส่วนของแนวคิด ความหมายของตัวชี้วัด จากการศึกษา

                       ดังกล่าวนำมาสู่การปรับปรุงเพิ่มเติมจำนวนตัวชี้จากที่เคยศึกษาไว้ในปี 2563 จำนวน 28
                       ตัวชี้วัด เพิ่มเป็น 34 ตัวชี้วัด เป็นเพิ่มขึ้นมาจากเดิมอีก 6 ตัวชี้วัด เพื่อให้ตัวชี้วัดมีความ

                       ครอบคลุม เป็นปัจจุบัน สามารถวัดระดับสันติภาพในสังคมไทยได้อย่างครบถ้วน  ทั้งยัง

                       สอดคล้องกับตัวชี้วัดในบริบทสากลและของไทยซึ่งในงานวิจัยนี้ได้เพิ่มตัวชี้วัดของ
                       สหประชาชาติ SDGs เข้าไป โดยเฉพาะ SDGs 16 เนื่องจากเกี่ยวข้องโดยตรงกับงานด้าน

                       สันติภาพ อย่างไรก็ตามการใช้เฉพาะตัวชี้วัดสากลเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอต่อการวัดระดับ

                       สันติภาพในสังคมไทย กล่าวคือบริบทของสากลมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกับบริบท
                       ของสังคมไทย ความเหมือนกันคือแนวความคิดสันติภาพของสากลเป็นที่ยอมรับร่วมกันว่า

                       นิยามความหมายของสันติภาพสามารถอธิบายสังคมต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี คือ ไม่มีความ
   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248   249