Page 11 - 22825_Fulltext
P. 11
ฌ
เปลี่ยนแปลงของคะแนนดัชนีสันติภาพจะลดลง สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการรับมือกับ
ผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยเพิ่มขึ้นตามระดับการพัฒนาของจังหวัด ทำให้ภาพรวมการวิเคราะห์ผลการ
เปลี่ยนแปลงของคะแนนดัชนีสันติภาพต่อผลกระทบของโควิด-19 มีการกระจายตัวของข้อมูลใน
ลักษณะเป็นสามเหลี่ยมปลายแหลม
ข้อเสนอแนะจากการศึกษา
ข้อเสนอแนะที่ 1 การส่งเสริมสันติภาพในระดับพื้นที่ จากผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่า
ระดับสันติภาพของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2564 ภาพรวมคะแนนระดับสันติภาพอยู่ในระดับ
ปานกลาง ระดับจังหวัดผลการดำเนินการส่งเสริมสันติภาพมีทั้งที่เพิ่มขึ้น คงเดิม และบางจังหวัดระดับ
สันติภาพลดลง ก่อให้เกิดความแตกต่างในระดับพื้นที่ต่อการแก้ปัญหาและส่งเสริมด้านสันติภาพ
ดังนั้นการส่งเสริมสันติภาพไม่อาจให้ความสำคัญกับการส่งเสริมในภาพรวมได้อย่างเดียว แต่
การส่งเสริมสันติภาพในพื้นที่จำเป็นจะต้องมีแนวทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยนำ
ผลการประเมินระดับคะแนนสันติภาพจากตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องที่ได้ระดับคะแนนลดลงหรือมีค่าต่ำ
แล้วนำมากำหนดแนวทางเพื่อร่วมกันแก้ไขและยกระดับคะแนนดัชนีสันติภาพในระดับพื้นที่จังหวัด
ข้อเสนอแนะที่ 2 การบูรณาการด้านการจัดเก็บข้อมูล และการสร้างความร่วมมือจากทุก
ภาคส่วน เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการทำงานด้านสันติภาพของประเทศไทย จากการพัฒนาตัวชี้วัดดัชนี
สันติภาพทั้ง 4 ด้าน ตัวชี้วัดองค์ประกอบย่อย จำนวน 34 ตัวชี้วัด ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์คำนวณค่า
ดัชนี และค่าเกณฑ์ระดับคะแนน เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน มีรูปแบบ วิธีการจัดเก็บ
ข้อมูลที่แตกต่างกัน รวมถึงช่วงระยะเวลาการจัดเก็บ ความต่อเนื่อง ความเป็นปัจจุบันของข้อมูล
ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับนำมาใช้ในการวิเคราะห์ดัชนีสันติภาพ และ
หน่วยงานหลักที่รับหน้าในการขับเคลื่อนด้านสันติภาพ จำเป็นจะต้องกำหนดแนวทางและกลไก
การสร้างความร่วมมือ การกำกับติดตามการจัดเก็บข้อมูล การประสานงาน เพื่อจัดเตรียมข้อมูล
สำหรับการวิเคราะห์ดัชนีสันติภาพได้อย่างครบถ้วน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำผลการประเมิน
การวัดระดับสันติภาพไปขับเคลื่อนการทำงานด้านสันติภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
ต่อไป
ข้อเสนอแนะที่ 3 การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านสันติภาพ กำหนดแนวทาง
การเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจด้านสันติภาพแก่ประชาชนในทุกช่วงวัย และเจ้าหน้าที่ของ
หน่วยงานภาครัฐ การยอมรับความหลากหลาย การไม่เลือกปฏิบัติ และการเคารพสิทธิมนุษยชน
ภายใต้การวางแนวทาง แผนการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาด้านสันติภาพในแต่ละด้านที่ชัดเจนเป็น
รูปธรรม โดยการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมแก้ไขปัญหา รวมทั้งสร้าง
กลไกการขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินงานการบูรณาการให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล