Page 10 - 22825_Fulltext
P. 10

ซ







                       สภาพทางเศรษฐกิจ รายได้ ความเป็นอยู่และการใช้ชีวิต ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ
                       โควิด -19 ดังนั้นเพื่อให้เห็นภาพผลกระทบที่เกิดขึ้นของประเทศไทย ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์และ

                       สะท้อนภาพผลกระทบที่ชัดเจน คือ ระดับรายได้ของครัวเรือน โดยกำหนดขอบเขตของการวิเคราะห์

                       ระดับจังหวัด ใช้ข้อมูลรายได้ต่อหัวของประชากรในแต่ละจังหวัดมาเป็นตัวแทน และเปรียบเทียบกับ
                       การเปลี่ยนแปลงของคะแนนดัชนีสันติภาพของปี พ.ศ.2564 เนื่องจากเป็นปีที่มีการแพร่ระบาดของ

                       โควิด-19 เทียบกับปี พ.ศ. 2562 ที่ยังไม่เกิดการแพร่ระบาด แสดงดังรูปที่ 3 โดยข้อมูลแกนนอนเป็น

                       รายได้ต่อหัวของจังหวัดที่สะท้อนระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ส่วนข้อมูลแกนตั้งเป็นการ
                       เปลี่ยนแปลงของคะแนนดัชนีสันติภาพ ทั้งนี้หากมีค่าเป็นบวก แสดงว่าคะแนนดัชนีในปี พ.ศ. 2564

                       ของจังหวัดนั้นมีค่าสูงกว่าปี พ.ศ. 2562 หากคะแนนดัชนีมีค่าเป็นลบแสดงว่าคะแนนดัชนีสันติภาพใน

                       ปี พ.ศ.2564 ของจังหวัดนั้นมีค่าต่ำกว่ากว่าปี พ.ศ. 2562 จึงเป็นจังหวัดที่ระดับสันติภาพได้รับ
                       ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19

                                  รูปที่ 3 ผลกระทบของโควิด-19 จำแนกตามระดับรายได้ต่อหัวของจังหวัด





































                              จากรูปที่ 3 กลุ่มจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวต่ำ ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

                       มีความแตกต่างกันมาก โดยมีทั้งจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีสันติภาพเป็นบวก และเป็นลบ

                       ที่แตกต่างกันอย่างมาก สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวเพื่อรับมือกับผลกระทบที่เกิดขึ้น
                       แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มจังหวัดที่มีรายได้ต่อหัวสูงขึ้น ความผันผวนของการ
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15