Page 5 - 22825_Fulltext
P. 5
ค
และ Ebert and Welsh (2004) โดยแบ่งเป็น 3 แนวทางด้วยกัน แนวทางที่ 1 การปรับค่าข้อมูลให้
สามารถแบ่งระดับได้ แนวทางที่ 2 การจัดกลุ่มของข้อมูลด้วยเครื่องมือทางสถิติที่เหมาะสม
แนวทางที่ 3 คำนวณดัชนีด้วยการปรับข้อมูลให้เป็นค่ากลาง สำหรับข้อมูลทุติยภูมิจะใช้การปรับ
(Principalค่าข้อมูลเพื่อให้ไม่มีหน่วย (Unit-Free) โดยการใช้ค่า Z-Score รวมถึงปรับข้อมูลให้เป็น
ค่ากลาง (Normalization) จากนั้นจัดกลุ่มของข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบ Component
Analysis: PCA) สำหรับแนวทางในการจัดทำดัชนีในระดับจังหวัด เนื่องจากข้อมูลระดับจังหวัดที่จะ
ไม่มีความต่อเนื่อง เปรียบเสมือนภาพต่อที่ไม่สมบูรณ์ การนำข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่องมากำหนดช่วงคะแนน
จะทำให้ผลที่ได้มีความคลาดเคลื่อน ด้วยเหตุนี้ ก่อนการทำดัชนี จึงต้องมีการประมาณค่าการกระจาย
ตัวใหม่ (Probability Density Function: PDF) โดยใช้ข้อมูลระดับจังหวัดมาเป็นฐานในการประมาณ
ค่าเพื่อให้ได้ภาพการกระจายตัวที่สมบูรณ์ แล้วจึงนำค่าที่ได้จากการประมาณการประจายตัวดังกล่าว
มากำหนดเกณฑ์ในการเลือกระดับคะแนนของดัชนี โดยวิธีการประมาณค่าที่จะใช้ในการศึกษาครั้งนี้
คือ Singh-Maddala Distribution คงคุณสมบัติของตัวแปรสุ่ม จากนั้นผลที่ได้มาสร้างเป็นดัชนี
ประกอบ (Composite Index) ในแต่ละด้านให้ครบทั้ง 4 ด้าน
แหล่งข้อมูลที่นำมาใช้ มีทั้งข้อมูลสถิติจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้จัดเก็บข้อมูลอย่าง
ต่อเนื่อง และข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นทั่วประเทศจัดเก็บข้อมูลโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ
ซึ่งจะเห็นได้ว่า ข้อมูลในด้านของความรุนแรงทางกายภาพและการยอมรับความหลากหลาย/
การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิมนุษยชน จะเป็นข้อมูลจากการสำรวจเป็นส่วนใหญ่ ส่วนข้อมูล
ด้านความปลอดภัยและมั่นคงในสังคมและข้อมูลด้านความเหลื่อมล้ำในสังคมและการกระจายตัวของ
ทรัพยากรที่เป็นธรรม จะเป็นข้อมูลจากหน่วยงานเป็นหลัก ข้อมูลที่นำมาใช้มีทั้งข้อมูลที่จัดเก็บใน
ระดับประเทศและระดับจังหวัด ข้อมูลบางตัวชี้วัดสามารถนำเสนอได้ในระดับจังหวัด แต่ข้อมูล
บางตัวชี้วัดไม่ได้จัดเก็บจึงนำเสนอข้อมูลในระดับประเทศเท่านั้น รายละเอียดตามที่แสดงไว้ในรูปที่ 1