Page 4 - 22825_Fulltext
P. 4

ข







                                                     บทสรุปสำหรับผู้บริหาร


                              รายงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1. พัฒนาดัชนีและตัวชี้วัด ด้านสันติภาพที่เหมาะสม

                       กับบริบทของสังคมไทย 2. วัดระดับสันติภาพในสังคมไทยเพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการสร้าง
                       สันติภาพให้เกิดขึ้น  3.นำผลของงานวิจัยมาแลกเปลี่ยนกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อทำให้เกิดการ

                       ขับเคลื่อนงานด้านสันติภาพ จากการสำรวจองค์ความรู้เกี่ยวกับดัชนีและตัวชี้วัดด้านสันติภาพทั้งใน
                       ประเทศและต่างประเทศทำให้ทราบว่า นิยามสันติภาพซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลตั้งอยู่บน

                       หลักการของการไม่มีสันติภาพเชิงลบและมีสันติภาพเชิงบวก กล่าวคือไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ
                       ที่ปรากฏอย่างชัดเจน มีระบบ กลไกที่ทำให้สังคมมีความสงบสุข และมีสันติภาพอย่างยั่งยืน นอกจาก

                       ความหมายสันติภาพดังกล่าวแล้ว การศึกษาสันติภาพในมิติภายใน คือ การเข้าใจตนเองมีความสำคัญ

                       และการทำให้จิตใจของตนเองมีเมตตา กรุณา การเห็นอกเห็นใจต่อเพื่อนมนุษย์ จากนิยามสันติภาพ
                       ของสากลดังกล่าวนำมาสู่การประยุกต์แนวคิดให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย และพัฒนาเกณฑ์

                       ของตัวชี้วัดด้านสันติภาพให้เหมาะสม เพื่อวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย
                              การศึกษาครั้งนี้ เป็นการจัดทำตัวชี้วัดด้านสันติภาพที่เหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย  ด้วย

                       การกำหนดตัวชี้วัดและเกณฑ์การให้คะแนนตัวชี้วัดให้มีความชัดเจน รัดกุมและวัดระดับได้  โดยมีการ

                       แบ่งตัวชี้วัดออกเป็น 4 ด้าน คือ การไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ ความปลอดภัยและความมั่นคงใน
                       สังคม การยอมรับความหลากหลาย/การไม่เลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิมนุษยชน และมีความเหลื่อม

                       ล้ำในสังคมน้อยและมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม  โดยมีตัวชี้วัดย่อยทั้งสิ้นที่ได้ปรับปรุงและ
                       พัฒนารวมทั้งสิ้น 34 ตัวชี้วัด โดยข้อมูลที่นำมาใช้  มีทั้งข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ

                       ข้อมูลจากการสำรวจทั่วประเทศ รวมทั้งการวิเคราะห์ผลกระทบของโควิด 19 ต่อครัวเรือนที่รายได้

                       แตกต่างกัน และผลกระทบต่อตัวชี้วัดความเหลื่อมล้ำในสังคมในบางตัวชี้วัด
                              รายงานวิจัยนี้มีการจัดทำตัวชี้วัดทั้งในระดับประเทศและระดับจังหวัด การนำเสนอข้อมูล

                       ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีที่ได้จัดเก็บอยู่แล้วว่ามีข้อมูลถึงระดับจังหวัดหรือไม่ ถ้าหากข้อมูลไม่สามารถระบุ
                       ลงระดับจังหวัดจะนำเสนอข้อมูลในระดับประเทศ การจัดทำดัชนีในระดับประเทศกับระดับจังหวัดจะ

                       มีความแตกต่างกัน แนวทางในการจัดทำดัชนีระดับประเทศ ได้ยึดแนวทางของ OECD (2008) และ
                       Ebert and Welsh (2004) ที่เสนอว่า การสร้างดัชนีนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับคุณสมบัติของดัชนี

                       แต่ละว่ามีความหมายอย่างไร ทั้งนี้การนำข้อมูลทั้งหมดมารวมกันแล้วคำนวณค่าดัชนีในภาพรวมไม่ใช่

                       แนวทางที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ (Adding up apples and oranges)  โดยเฉพาะกรณีที่ดัชนีรวม
                       เกิดการผลรวมของดัชนีย่อยซึ่งมีที่มาต่างกัน ในการศึกษาครั้งนี้ จะใช้แนวทางตามที่ OECD (2008)
   1   2   3   4   5   6   7   8   9