Page 129 - 22665_Fulltext
P. 129

112







                       สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ ในพื้นที่ที่เขามาตั้งรกรากอยู่พื้นที่ใหม่ ปัญหาความขัดแย้งบางครั้งเกิดจาก
                       ความไม่เข้าใจด้านภาษา ดังที่ผู้น าชุมชนให้ข้อมูลว่า

                                        “แต่เดิมก็มีปัญหาความขัดแย้งเรื่องภาษา  เวลาส่งภาษากันบางทีเราพูดกันแบบ
                       นี้แต่คนเขาคิดไปแบบนั้นมันเลยเกิดปัญหาในการสื่อสารนี่คือปัญหาหนึ่งค่ะ ที่มีปัญหาอยู่ก็เป็นคนลาว

                       พูดภาษาลาวและจะฟังเขมรไม่ออกก็ต้องทนอยู่ได้ค่ะ เขาจะโดนด่าประจ าค่ะแต่ด่าเป็นภาษาเขมรเขา
                       ฟังไม่ออกก็ไม่โกรธค่ะ” (สายสมร พาบุตร, สนทนากลุ่ม, 25 มกราคม 2564)

                                        ในขณะที่ผู้น าชุมชนอีกท่านเห็นว่าไม่ใช่ความขัดแย้ง แต่เป็นความเข้าใจผิด ทาง

                       ภาษา
                                        “เขาอาจไม่ได้ด่า เป็นช่องว่างทางภาษา บางทีไม่รู้เรื่องภาษาเห็นเขาพูดนึกว่าเขา

                       ว่าเขาด่า ก็จะต้องศึกษาเรื่องภาษานะครับ” (สมิง รุ่งค า, สนทนากลุ่ม, 25 มกราคม 2564)

                                        การมีกิจกรรมร่วมกันในงานประเพณีของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ จึงท าให้สามรถอยู่
                       ร่วมกันได้ ดังที่ผู้น าชุมชนให้สัมภาษณ์ว่า

                                        “ส่วนประเพณีของชาติพันธุ์ ก็จะเน้นทุกชนเผ่า  คือเราจะช่วยกันอย่างเขมรเอง
                       เวลามีจัดประเพณีคนลาว คนส่วย คนเยอ เขาก็จะมาเข้าร่วม ประเพณีของลาวเขมรก็จะช่วยกัน อันนี้

                       ก็จะไม่ขัดแย้งในเรื่องของประเพณี วัฒนธรรมเก่าดั้งเดิม ทั้งภาษา วัฒนธรรม ประเพณีก็สามารถที่จะ
                       จูนหากัน” (สมิง รุ่งค า, สนทนากลุ่ม, 25 มกราคม 2564)

                                        งานประเพณีเหมือนของไทยโดยทั่วไป ทั้งของส่วย ลาว ประเพณีก็จะเหมือนกัน

                       ทั้ง เข้าพรรษา ออกพรรษา ลอยกระทง ยกเว้นประเพณีเขมรเฉพาะบางประเพณีที่จัดแบบยิ่งใหญ่
                       เป็นอัตลักษณ์ คือแซนโฎนตาในห้วงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งจะมีคนเผ่าต่างๆ ไหว้บรรพบุรุษที่บ้านด้วย

                       และไปท าบุญที่วัดร่วมกัน

                                        “เขมรนี้คือ แซนโฎนตา เป็นประเพณีการไหว้บรรพบุรุษแล้วเป็นประเพณีใหญ่ที่
                       ชนเผ่าเขมรเองเขาก็จะจัดงานใหญ่ ถือว่าเป็นงานสร้างบุญและตอบแทนผู้มีพระคุณ และเป็นการรวม

                       ญาติจะไปอยู่ต่างจังหวัดอยู่ที่ไหนเขาก็จะมาเพื่อที่จะท าบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ ถือเป็นการ
                       สร้างความกตัญญู ถึงจะเสียชีวิตไปแล้วหรือยังไม่เสียชีวิตก็จะมาร่วมงานมาอยู่มาพบกัน อันนี้คืองาน

                       ของเผ่าเขมรนะครับ (สมิง รุ่งค า, สนทนากลุ่ม, 25 มกราคม 2564)
                                        “เราจะนัดหมาย 2 โมงเช้า เตรียมข้าวต้มมาเต็มกันทุกหลังคาเรือน เขาจะไหว้

                       กัน 4 ครั้ง 8 โมงเช้าน าข้าว อาหารมาถวายวัด ไหว้ 4 ครั้งต้องเปลี่ยนตลอด ผลไม้ 9 อย่าง  ถ้ามีไก่คือ

                       ไก่ 4 ตัว ถ้าหัวหมูก็ 4 หัว ผลไม้ก็เปลี่ยนใหม่หมด ...คนลาวก็ท าเหมือนกัน แต่เขาก็ท าไม่เยอะเหมือน
                       เขมร เขามีอะไรเขาก็ไปไหว้ แต่เขาไม่ได้ 3 ทุ่ม ไม่ได้ไหว้ตี 2 เขาจะไหว้แต่ตอนเย็นและตอนเช้าน า

                       อาหารและผลไม้อะไรต่าง ๆ ไปไหว้ร่วมกับเขมร” (สายสมร พาบุตร, สัมภาษณ์, 20 พฤษภาคม

                       2564)
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134