Page 126 - 22665_Fulltext
P. 126
109
วันที่ 13 มกราคม 2564นายวิรัช ทองแย้ม นายกองค์การบริหารส่วนต าบลบัก
ดอง มอบหมายให้ นางสาริศา ขจรเจริญกุล ผู้อ านวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และ
เจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
ต าบลบ้านหลักหิน ลงพื้นที่เพื่อติดตามกรณีเรื่องร้องเรียนจากผู้ได้รับผลกระทบจากกลิ่นเหม็นของน้ า
เสียจากลานรับซื้อยางพารา และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบการเพื่อระงับเหตุร าคาญ
ดังกล่าว (องค์การบริหารส่วนต าบลบักดอง, 2564)
ปัญหาที่ยังท้าทายชุมชนบักดองในปัจจุบันคือ ตลาดยางพารา ตลาดรับซื้อขี้
ยางพารา ส่งกลิ่นเหม็นกระทบต่อชุมชนโดยรอบ มีการแก้ไขปัญหาด้วยการ ประสานทางเจ้าของ
กิจการ และมีมาตรการป้องกัน
“การจะอนุญาต ต้องมีการป้องกัน ให้ครบถ้วนก่อนแล้วค่อยอนุญาต ถ้าเขาท า
แล้วยังสร้างความเดือดร้อนก็ต้องให้ยุติ แต่หน้าที่คือการประสานกับผู้มีอ านาจดูแล”(สมิง รุ่งค า,
สัมภาษณ์, 29 พฤษภาคม 2564)
2) การจัดการป่าและที่ดิน ความขัดแย้งเรื่องป่า การใช้ทรัพยากรป่าไม้ กติกา
การใช้ทรัพยากร
(1) การบุกรุกป่า ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา มีการบุกรุก แผ้วถางตัดไม้ท าลายป่า
เพื่อท าไร่ เช่น สวนยางพารา แต่ในปัจจุบันสถานการณ์ดีขึ้น แต่ก็ยังมีการบุกรุกอยู่บ้าง ล่าสุดในปี
2564 คณะกรรมการป่าชุมชนและผู้ใหญ่บ้านทับทิมสยาม ได้เข้ายื่นหนังสือต่อศูนย์ด ารงธรรมอ าเภอ
ขุนหาญ และส านักงานพัฒนาป่าไม้จังหวัดศรีสะเกษ และส านักงานทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมศรีสะเกษเรื่องบุกรุกป่าชุมชนทับทิมสยาม จ านวนผู้บุกรุกมี 11 ราย
(2) การขึ้นทะเบียนป่าชุมชนและการใช้ประโยชน์ คนในชุมชนให้ความ
ร่วมมือในการใช้และอนุรักษ์ป่า ได้รับประโยชน์จากการใช้ป่า และมีเครือข่ายที่ร่วมมือกันในการ
จัดการป่า ท าให้ลดการตัดไม้ท าลายป่าลงได้ ต้นไม้ที่มีค่า เช่น ไม้ประดู่ ไม้พะยูง และไม้ชิงชัง มีการ
ส่งเสริมจากเครือข่ายให้ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน
“มีการขึ้นทะเบียนป่าชุมชนวันที่ 6 มีนาคม ปี 2558 ประมาณ 1972 ไร่ 2 งาน
71 ตารางวา ต่อมา มีการประกาศเป็นป่าชุมชนระดับหมู่บ้าน ก็มาท าแผนโครงการเพื่อสร้างงาน
สร้างอาชีพให้กับชุมชน มีการปลูกป่าในพื้นที่ 1900 กว่าไร่ในแผน 5 ปี แล้วก็จะท าฝายชะลอน้ า และ
ที่เราท ากันในตอนนี้ก็จะมีเรื่องของแผนป้องกันไฟป่า โดยเฉพาะในหน้าแล้ง ป่าชุมชนเราเป็นป่าดงดิบ
เป็นป่าต้นน้ าด้วย มีต้นน้ าที่หล่อเลี้ยงอยู่ในอ าเภอในจังหวัดศรีสะเกษ ป่าชุมชนเรามีพื้นที่ 2 หมู่บ้าน
เป็นเครือข่ายเดียวกัน” (สายสมร พาบุตร, สนทนากลุ่ม, 25 มกราคม 2564)