Page 130 - 22665_Fulltext
P. 130

113








                                        5) การจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ในด้านครอบครัว

                                        ความขัดแย้งในชุมชนทับทิมสยาม ที่มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยคนกลาง จะมี
                       หลายเรื่อง เรื่องครอบครัวเป็นเรื่องหนึ่งที่ได้ไกล่เกลี่ยหลายกรณี โดยผู้ใหญ่บ้านได้ให้ผู้อาวุโสเข้ามาท า

                       หน้าที่ในการไกล่เกลี่ยปัญหาครอบครัวหลายกรณี
                                        “เวลามีเรื่องครอบครัวก็จะมีการไกล่เกลี่ยครับไม่ให้มีการขึ้นไปถึงโรงถึงศาลครับ

                       ก็จะเป็นเรื่องครอบครัวผัวเมียครับ  โดยผู้ใหญ่บ้านเป็นคนกลางครับ ถ้าเขาคิดกันก็ไกล่เกลี่ยไม่ให้

                       เลิกรากัน ขัดแย้งกันมาก เรื่องผัวเมียทะเลาะกันครับ ส่วนมากจะแบบนั้นครับ ผัวกินเหล้ามาก็
                       ทะเลาะกัน ชกต่อยกันก็มาที่ศาลผู้ใหญ่บ้าน มาให้ช่วยไกล่เกลี่ย พอไกล่เกลี่ยแล้ว ก็ดีขึ้นครับ ก็ไม่

                       ทะเลาะกัน” (งวน ค าโท, สนทนากลุ่ม, 25 มกราคม 2564)

                                        “ส าหรับการไกล่เกลี่ยนั้น ทางศาล พ่องวน ค าโท เป็นตัวหลักผู้ใหญ่บ้าน ก็จะ
                       เป็นผู้น้อยในการที่จะรับฟังปัญหาและสอบถาม”

                                        มีการตั้งศาลไกล่เกลี่ย ก่อตั้งขึ้น ปี 2550 ในช่วงเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ความขัดแย้ง
                       ที่เกิดขึ้นส่วนมากเป็นเรื่องกระท าความรุนแรงในครอบครัว

                                        “ปัญหาส่วนมากจะเป็นเรื่องของการกระท าความรุนแรงในครอบครัว จะมีปัญหา
                       เยอะสุดเพราะว่าจะเห็นมีปัญหาการหย่าร้าง 53 คดีนั้นจะมีแต่คดีความรุนแรงต่อเด็กและสตรีค่ะ

                       อย่างวันที่ 8 มกราคมที่ผ่านมาก็จะเป็นในเรื่องของการกระท าความรุนแรงต่อภรรยา” (สายสมร พา

                       บุตร, สนทนากลุ่ม, 25 มกราคม 2564)
                                        ภายหลังจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแล้ว มีการติดตามประเมินผล และช่วยสร้าง

                       งานสร้างอาชีพให้

                                        “โดยผู้ใหญ่ติดตามไปดูครอบครัวที่เขาเคยมีปัญหากันว่าหลังจากนั้นเขายังมีเรื่อง
                       ทะเลาะเบาะแว้งกันอีกไหม ผู้ใหญ่ก็จะเข้าไปสอบถามทั้งสามีทั้งภรรยาว่าเป็นอย่างไรชีวิตการเป็นอยู่

                       ดีขึ้นไหม ดูความเป็นอยู่  ชีวิตครอบครัวเขาเป็นอย่างไรมีหนี้มีสินไหม ปากท้องเป็นอย่างไรบ้าง น
                       แล้วเขาจะสะท้อนปัญหามาให้เราฟังว่ามันเกิดจากการกินเหล้า ความไม่พอเพียงในการหล่อเลี้ยง

                       ครอบครัว เราก็ค่อยแก้ว่าถ้าอย่างนั้นจะให้ผู้ใหญ่สร้างงานให้ดีไหม ให้สร้างอาชีพ เราก็ส่งเสริมในเรื่อง
                       ของการสร้างอาชีพให้ในเรื่องของเครื่องจักสาน ในเรื่องของการส่งเข้าอบรมนวดแพทย์แผนไทย ซ่อม

                       รถ ตัดผม ว่าใครต้องการที่จะท าอะไรในเรื่องของอาชีพ ตรงนี้ผู้ใหญ่จะเข้าไปติดตามและประเมินผล

                       ด้วยตนเอง” (สายสมร พาบุตร, สนทนากลุ่ม, 25 มกราคม 2564)
                                        และส าหรับในส่วนของโครงการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโครงการของภาครัฐช่วย

                       ส่งเสริม โครงการความเป็นอยู่ดีกินดีของภาคประชาชน เราก็เอาส่วนนั้นมาเติมเต็มให้กับชุมชน สิ่งที่

                       ส าคัญก็คือคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน คุณภาพชีวิตที่ดีนั้นเกิดจากความเป็นอยู่ 2 จากที่เคยมีปัญหา
   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135